วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551
Amazing virgin coconut oil
มาพูดต่อ ถึงความมหรรศจรรย์ของ virgin coconut oil กันอีกนะคะ
วันที 25 - ส.ค.- 51
การบรรยายประชุมวิชาการ เรื่อง บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ และความงาม
โดย : ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา
สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ (วันพุธ)
เรื่อง "บทบาทของนำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ และความงาม"
โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ
มะพร้าว เป็นพืชพื้นเมืองของไทย ซึ่งบรรพบุรุษได้นำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้น จนมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้สารพัดประโยชน์ และเป็นพฤกษาชีวิน หรือ Tree of life เนื่องจากเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย มาตั้งแต่โบราณกาล โดยที่คนไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง น้ำมันมะพร้าวและกะทิซึ่งเป็นไขมันประเภทอิ่มตัว (saturated fat) ถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง และเมื่อบริโภคเข้าไป ร่างกายก็ไปเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสโลหิต อันเป็นสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือดทำให้หัวใจวายเพราะขาดเลือด จึงมีการรณรงค์ให้หันไปบริโภคน้ำมันพืชที่ ไม่อิ่มตัว(unsaturated fat) แทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีรายงานการวิจัยซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ตีพิมพ์ซึ่งชี้ให้เห็นว่า น้ำมันมะพร้าวที่เคยถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจนั้นไม่เป็นความจริง เพราะผลการวิจัยสรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก แต่น้ำมันที่ไม่อิ่มตัวทั้งหลายกลับเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเสื่อมและโรคอื่นๆ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร เช่น คนอเมริกันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากทุกคนพากันบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันไม่อิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดมาเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับน้ำมันมะพร้าวเพราะมีประโยชน์ทั้งในแง่ต่อสุขภาพและความงาม ซึ่งถ้าย้อนไปในยุคสมัยบรรพบุรุษของไทย อาหารไทยทั้งคาวและหวานหลายชนิด ต้องใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นเครื่องปรุง นอกจากนั้นยังใช้บำรุงสุขภาพและความงาม เช่น ใช้น้ำมันมะพร้าวทานวดตัวเพื่อรักษาโรคกระดูก ปวดเมื่อย และรักษาผิวไม่ให้กร้านแดดและเหี่ยวย่น ตลอดจนใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมผมให้ดกดำเป็นเงางาม แต่คนสมัยใหม่กลับพึ่งพาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยากันแดด ครีม โลชั่น ซึ่งบางชนิดกลับเป็นผลเสียต่อสุขภาพ และความงามของผู้บริโภคอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น
ชนชาติของประเทศทวีปเอเชีย เช่น ศรีสังกา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง โดยใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบของอาหาร คนกลุ่มนี้ก็มีสุขภาพแข็งแรง และไม่ค่อยมีคนอ้วนหรือเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจเป็นจำนวนมากเหมือนกับพวกชาวตะวันตก และในด้านความงามก็เช่นเดียวกัน คนพื้นเมืองในประเทศเหล่านี้แม้ว่าบางเชื้อชาติจะมีผิวคล้ำแต่มีผิวที่เนียนไม่แตกลายหรือเหี่ยวย่น แต่ผิวพรรณกลับดูอ่อนกว่าวัย เส้นผมสลวยดกดำเป็นเงางามอันเนื่องมาจากใช้น้ำมันมะพร้าวมาทาผิว และชโลมเส้นผมนั่นเอง
ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามกระบวนการผลิตดังนี้
1. น้ำมันมะพร้าว RBD สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวห้าวโดยการบีบ หรือใช้ตัวทำละลาย ผ่านความร้อนสูง และขบวนการทางเคมี RBD คือการทำให้บริสุทธิ์ (refining) ฟอกสี (bleaching) และกำจัดกลิ่น (deodorization) หลังจากที่สกัดได้ เพื่อให้เหมาะสำหรับการบริโภค ได้น้ำมันสีเหลืองอ่อนไม่มีกลิ่นและรส ปราศจากวิตามินอี (เพราะถูกขจัดออกไปโดยขบวนการทางเคมี) มีปริมาณกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ไม่เกิน 0.1 % ปัจจุบันไม่ค่อยมีจำหน่าย เพราะโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวประเภทนี้ส่วนใหญ่เลิกดำเนินกิจการไปนานแล้ว
2. น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (cold-pressed coconut oil) โดยขบวนการบีบไม่ผ่านความร้อนสูง ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidation) มีค่า peroxide และกรดไขมันอิสระต่ำมีกลิ่นมะพร้าวอย่างอ่อน ๆ ถึงแรง (ขึ้นอยู่กับขบวนการการผลิต) มีความชื้นไม่เกิน 0.1 % เรียกน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin Coconut Oil) เป็นน้ำมันที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือในครัวเรือน
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเป็นน้ำมันมะพร้าวประเภทพรหมจรรย์ จึงขออธิบายถึงองค์ประกอบเฉพาะของน้ำมันประเภทนี้ ซึ่งมีส่วนทำให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชชนิดเดียวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และความงามของมนุษย์มากที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin Coconut Oil)
ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวมีสารที่มีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids)
น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว กว่า 90 % อะตอมของธาตุคาร์บอนของกรดไขมันที่อิ่มตัวจะต่อกันเป็นเส้น (chain) โดยมีพันธะเดี่ยว (single bond) จับกันเองเป็นเส้นยาวตามจำนวนของคาร์บอน แต่ละอะตอมของคาร์บอนจะมีไฮโดรเจนติดอยู่ 2 ตัว เนื่องจากแต่ละอะตอมของคาร์บอนไม่สามารถรับไฮโดรเจนได้อีกเพราะไม่มีพันธะว่าง จึงเรียกน้ำมันที่มีกรดไขมันประเภทนี้ว่า “น้ำมันอิ่มตัว” กรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่ มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน 8 – 14 ตัว กรดไขมันที่สำคัญได้แก่ กรด คาปริก (carpic acid – C10) กรดลอริก (Lauric acid – C12) และกรดไมริสติก (myristic acid – C14) ทำให้โมเลกุลมีความยาวของเส้น (chain) ขนาดปานกลาง
นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) แต่มีเพียง 9 % ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัว ไม่มีไฮโดรเจน 2 ตัวมาจับ จึงต้องจับคู่กันเองด้วยพันธะคู่ (double bond) จึงเป็น กรดไขมันที่มีพันธะคู่เพียงหนึ่งคู่
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 คู่ ส่วนใหญ่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมาก จึงทำให้โมเลกุลมีความยาวมาก เช่น กรดลินโนเลอิก (linoleic acid – C18)
2. กรดลอริก (lauric acid)
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันจากพืชชนิดเดียวในโลกที่มีกรดลอริก อยู่ในปริมาณที่สูงมาก ประมาณ48 – 53 % และกรดลอริกนี้เอง ที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพและ ความงามของมนุษย์ น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาปริก (capric acid) ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อยกว่ากรดลอริก คือ มีเพียง 6-7 % แต่ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของกรดลอริก
องค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันพืชบางชนิด
3. วิตามินอี (vitamin E)
น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการ RBD ยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ และก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวโดดเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ
บทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว และแต่ละองค์ประกอบก็มีบทบาททางสรีรวิทยาที่เสริมให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพและความงามของผู้บริโภค ดังคำอธิบายต่อไปนี้
1. ความอิ่มตัว
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัวโดยที่พันธะ (bond) ที่จับกันระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) ทำให้มีความเสถียรหรืออยู่ตัว (stability) สูงจึงไม่ถูกอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรก ซึ่งเรียกว่า hydrogenation และ oxidation ได้ง่าย ๆ และ ไม่มีกลิ่นหืนเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะพวกที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated oil) ซึ่งมีพันธะคู่หลายตำแหน่งเมื่อถูกความร้อนสูงจะทำให้เกิดเป็นเกิดเป็น trans fatty acids ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลาย เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane) อันเป็นผลทำให้เซลล์อ่อนแอจนเชื้อโรคและสารพิษเข้าไปได้สะดวก ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เปลี่ยนแปลงกลไกของร่างกายในการขจัดคอเลสเตอรอลโดยการขัดขวางการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในตับ จึงทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ลดปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองของมารดา เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรล ในเพศชาย เป็นต้น
2. กรดไขมันขนาดกลาง
การที่กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวที่โมเลกุลขนาดกลาง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้
2.1 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว : ร่างกายของมนุษย์สามารถเปลี่ยนน้ำมันมะพร้าวให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง (C8 – C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 แสดงความแตกต่างของโมเลกุลไขมันในการเปลี่ยนเป็นพลังงาน
2.2 เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม : นอกจากจะเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็วดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังไปเร่งอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) เพราะมันมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) โดยไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้น คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroid) ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา บุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เป็นคนกระฉับกระเฉง (active) และไม่อ้วน เพราะน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไปถูกเผาผลาญเป็นพลังงานหมดไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย
2.3 ช่วยลดน้ำหนัก : การบริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะไม่ทำให้อ้วนแล้ว ยังสามารถลดความอ้วนจากผลของการเกิดความร้อนสูงในร่างกาย โดยการไปนำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้ จนมีคำที่ว่า “Eat Fat – Look Thin”
3. กรดลอริกและโมโนลอริก
น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (lauric acid) อยู่ประมาณ 50 % กรดนี้ มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสามารถพิเศษ คือ
3.1 สร้างภูมิคุ้มกัน : เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride) ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน (monolaurin) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค
3.2 ฆ่าเชื้อโรค : โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และไวรัส ไวรัสบางชนิด ที่ยาปฏิชีวนะทั่วไป ทำลายไม่ได้เนื่องจากมีเกราะที่เป็นไขมันห่อหุ้ม (lipid-coated membrane) แต่เกราะนี้ก็จะถูกละลายโดยน้ำมันมะพร้าวเพื่อเปิดโอกาสให้โมโนลอรินเข้าไปฆ่าเชื้อโรค สารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าวไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และจะถูกสร้างขึ้นในร่างกายของมนุษย์เมื่อบริโภคอาหารที่มีกรดลอริก อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้
4. กรดคาปริกและโมโนคาปริน
แม้ว่าจะมีอยู่เพียง 6-7 % แต่กรดคาปริก (capric acid) ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของโมโนลอริน โดยการเปลี่ยนเป็นสารโมโนคาปริน (monocaprin) เมื่อน้ำมันมะพร้าวถูกบริโภคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกันกับโมโนลอริน ทั้งนี้ก็เพราะประสิทธิภาพของการทำงานของโมโนลอริน และโมโนคาปรินขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่
5. วิตามิน
น้ำมันมะพร้าว ที่ผลิตจากมะพร้าวแห้งที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ตลอดจนถูกแสงแดดและความร้อน เมื่อนำไปสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยวิธีหีบหรือ การใช้ตัวทำละลาย จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ดี โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้มันไม่หืน และเมื่อถูกนำไปผ่านขบวนการทางเคมี RBD ก่อนที่จะนำไปบริโภคจะสูญเสียวิตามินอีไป แต่ก็ยังเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ตราบใดที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยขบวนการเติมไฮโดรเจนหรือเติมสารกันเสีย (preservatives) เพื่อรักษาสภาพให้คงทนและไม่หืน แต่น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ ซึ่งสกัดได้โดยวิธีหมัก หรือวิธีบีบเย็นไม่ใช้อุณหภูมิสูง และไม่ผ่านขบวนการทางเคมี จะยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
5.1 ต่อต้านอนุมูลอิสระ : วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ รังสี ความเครียด ฯลฯ โดยปกติร่างกายของมนุษย์มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระคอยทำลายอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่เมื่อบริโภคน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัวซึ่งถูกเติมออกซิเจน (oxidized) ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างการขนส่ง การวางจำหน่าย และการเก็บรักษาก่อนบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นน่าจะไปลบล้างประสิทธิภาพ (neutralize) ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพโดยสูญเสียอีเล็กตรอน (electron) จึงไปจับกับโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงต่อไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นผลทำให้เซลล์ผิดปกติไป เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด เปลี่ยนสารพันธุกรรมใน นิวเครียส เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม (degenerative diseases) เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน โรคภูมิแพ้ ชราภาพก่อนวัย เป็นต้น
5.2 สารโทโคไทรอีนอล (tocotrienol) วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีอานุภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอล (tocopherol) ซึ่งอยู่ในวิตามินอีทั่วไป โดยเฉพาะที่มีอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวถึง 40-60 เท่า ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าวจึงต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ
สุขภาพที่ดีของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับสถานภาพ 4 ประการ คือ
1. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
จากบทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าวที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณทางอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน และเกลือแร่ ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าของอาหารโดยการเพิ่มการดูดวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก จึงถูกย่อยง่าย และเคลื่อนที่เร็วไปตามของเหลวในร่างกาย จึงเป็นที่นิยมใช้หุงต้มอาหารสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาการย่อยไขมัน และยังใช้ในสูตรน้ำนม เพื่อให้ไขมันที่จำเป็นแก่เด็กทารก และช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูก
2. ช่วยให้ปลอดจากโรคไม่ติดเชื้อ
โรคไม่ติดเชื้อที่ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนในการลดอัตราการเกิด ได้แก่
2.1 โรคหัวใจ : จากผลการวิเคราะห์พบว่า น้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยมาก เพราะมีเพียง 14 ส่วนในล้านซึ่งน้อยกว่าน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมี 28 ส่วน และที่สำคัญคือ เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไป ในร่างกาย ก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลในกระแสโลหิต อีกทั้งยังไม่ได้ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวเหมือนกับน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) ในขบวนการผลิต และถูกเติมออกซิเจน (oxidize) ระหว่างเดินทางก่อนถูกบริโภค จนเกิดเป็นtrans fatty acids ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลิ่มเลือด และไปอุดตันหลอดเลือด นอกจากนั้นน้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอีที่ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ นักโภชนาการสมัยใหม่จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้หัวใจมีสุขภาพดี เพราะเป็นหนึ่งในสองชนิดของน้ำมันบริโภค ซึ่งช่วยลดความหนืด (stickiness) ของเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยโคเลสเตอรอลจริงหรือ?
ชนิดของน้ำมัน
ปริมาณคอเรสเตอรอล (ส่วนต่อล้าน)
น้ำมันมะพร้าว 14, น้ำมันปาล์ม 18 ,ถั่วเหลือง 28 ,น้ำมันข้าวโพด 50
เนยเหลว 3,150, น้ำมันหมู 3,500
2.2 โรคมะเร็ง : น้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง ด้วยกลไก 2 วิธี คือ
(1) เนื่องจากเป็นน้ำมันประเภทอิ่มตัวจึงไม่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) และแตกตัวเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง
(2) มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีน เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง และการทำร้ายเซลล์ การใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมตัว ก็ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ดีกว่ายาทากันแดดราคาแพง
2.3 โรคอ้วน : โรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพต่าง ๆ เช่น การมีไขมันในเลือดสูงเป็นโรคเบาหวานมีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนโรคข้ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับ ฯลฯ การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง (ในขบวนการ thermogenesis) ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญอาหาร หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) สูงเกิดเป็นพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังช่วยทำลายไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ นำไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน
2.4 โรคเบาหวาน : ผลพลอยได้ของการเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานจากการบริโภคน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายไม่สะสมน้ำตาล เพราะถูกใช้ไปเป็นพลังงานหมด อีกทั้งยังไม่ทำให้ผู้ป่วยอยากรับประทานอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานไปได้โดยปริยาย
2.5 โรคปวดเมื่อย โรคชราภาพก่อนวัย โรคมะเร็งผิวหนัง และโรคกระดูก : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้ดี เพราะมีขนาดของโมเลกุลเล็กจึงนิยมใช้นวดตัวให้หายปวดเมื่อย และผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังปกป้องการทำลายของแสงอัลตราไวโอเลตที่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย และเป็นมะเร็งผิวหนัง ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของกระดูกให้แข็งแรง แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำน้ำมันมะพร้าว มาประกอบเป็นสูตรยาแผนโบราณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูก อันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุ
3. ช่วยให้ร่างกายปลอดจากโรคติดเชื้อ
จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคเป็นสาเหตุของโรคของมนุษย์มากมายเหลือคณานับ แต่ก็แปลกที่เด็กทารกแรกคลอดที่ดูดน้ำนมมารดาเป็นประจำมักไม่ค่อยเป็นโรคเหล่านี้ ทั้งนี้ก็เพราะมีภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากน้ำนมมารดา ได้มีการค้นพบว่าสารสำคัญในนมน้ำเหลือง (cholostum) ของมารดานี้ คือ กรดลอริก ซึ่งเมื่อเข้าไป ในร่างกายก็เปลี่ยนไปเป็นสารโมโนลอริน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนั่นเอง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพบว่ามีกรดลอริกสูงมากถึง 48-53% ซึ่งมากกว่าในน้ำนมมารดามาก ในปัจจุบันวงการแพทย์สมัยใหม่ได้แนะนำให้ประชาชนกินยาเม็ดที่มีโมโนลอรินเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
4. การรักษาโรค
จากการที่น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อ และสามารถถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้ดี และรวดเร็ว ตำราอายุรเวทของอินเดียจึงได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคมาไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี แพทย์แผนไทยก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคทั้งภายในและภายนอกมาเป็นเวลาช้านาน เช่น ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย ยารักษาโรคกระดูก ยารักษาแผลเน่าเปื่อย ส่วนตำราแพทย์แผนไทยในปัจจุบันก็แนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคกระดูกที่เกิดจากอุบัติเหตุ รักษา เม็ดผดผื่นคัน ลบริ้วรอย แผลฟกช้ำ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และป้องกันแสงแดด และความร้อน แม้กระทั่งแพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตก ก็ให้คนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือการดูดซึมอาหาร เด็กทารกรวมทั้งเด็กเล็กที่ไม่สามารถย่อยไขมัน กินน้ำมันมะพร้าวเป็นยารักษาโรค ศักยภาพของน้ำมันมะพร้าวในการรักษาโรคมีดังนี้
4.1 โรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เชื้อโรคที่กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายได้ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ เชื้อโปรโตซัว และเชื้อไวรัส โมโนลอรินหรือสารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าว มีจุดเด่นสองประการ คือ ไม่ทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค และสามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มเซลล์ ที่ยาปฏิชีวนะธรรมดา ไม่สามารถฆ่าได้ แต่น้ำมันมะพร้าว สามารถละลายเกราะไขมันนี้ได้ แล้วจึงเข้าไปฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ เท่าที่ได้มีการวิจัยพบว่า เชื้อโรคที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มนี้เป็นโรคร้ายในปัจจุบันที่รักษายากมาก เพราะทำลายมันไม่ได้ อย่างดีก็หยุดไม่ให้มันขยายพันธุ์โรคเหล่านี้ เช่น ไวรัสโรคเอดส์ โรค SARS ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล
4.2 โรคผิวหนัง ผิวหนังที่ถูกอนุมูลอิสระเข้าทำลาย หรือจากการถูกทำร้าย จนเกิดเป็นแผลที่เชื้อโรคจะเข้าทำลายต่อโมโนลอรินในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะจะช่วยกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้
4.3 รังแคหนังศีรษะ น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแค หากชโลมผมด้วยน้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษารังแคหนังศีรษะได้
บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความงาม
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน โดยเฉพาะยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีอยู่ในน้ำมันพืชอื่น ๆ เนื่องจากกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวมีขนาดโมเลกุลที่เล็ก ทำให้ถูกดูดซึมเข้าไปได้ง่าย เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่น ๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายจากสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทต่อความงาม ในเรื่องดังต่อไปนี้
1. รูปร่างได้สัดส่วน ไม่อ้วน แต่แข็งแรง
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวที่เราบริโภคเข้าไปสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ทันที จึงไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย อีกทั้งยังกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้น จึงนำเอาไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ก่อนหน้า ไปใช้เผาผลาญให้เกิดพลังงาน จึงช่วยลดความอ้วนได้ ดังนั้นผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน (เพราะไม่มีไขมันสะสม) แต่ร่างกายก็สันทัดสมส่วน และแข็งแรง
2. ผิวสวย
การนวดหรือชโลมตัวด้วยน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวสวย เพราะ :
2.1 ผิวดูอ่อนวัย : น้ำมันมะพร้าวที่ใช้ชโลมตัว ทั้งในรูปน้ำมันมะพร้าวสด ๆ หรือในรูปของผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว เช่น ครีม และโลชั่นจะทำให้ผิวพรรณนุ่มไม่แตกแห้งเป็นกระ หรือฝ้า แต่ชุ่มชื้นและผิวเนียน ปราศจากริ้วรอยเหี่ยวย่น ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีที่มีอานุภาพมากกว่าวิตามินอีในเครื่องสำอางช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์จากขบวนการเติมออกซิเจน (Oxidation) ช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและทับถมกันจนทำให้ผิวแห้ง ขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงทำให้ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย
2.2 ผิวนุ่มและเนียน : ตามปกติผิวหนังจะสูญเสียความชื้นเพราะถูกแดดและลม น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นสารรักษาความชุ่มชื้น (Moisturizer) จึงช่วยให้ผิวหนังนุ่มและเนียน
2.3 ช่วยป้องกันและรักษาฝ้า และกระ : อนุมูลอิสระเป็นตัวการอันหนึ่งของการเกิดฝ้า และกระ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ทำลายอนุมูลอิสระเหล่านี้ เราสามารถใช้นำมันมะพร้าวเป็นยากันแดดได้ดีอีกทั้งยังไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยากันแดดบางชนิด และราคาก็ถูกกว่า
3. ผมงาม
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) อีกทั้งยังมีสารปฏิชีวนะ (จากโมโนลอริน) และสาร antioxidant (จากสารโทโคทรินอลในวิตามินอี) จึงมีส่วนทำให้ผมงาม จากคุณสมบัติดังต่อไปนี้ :
3.1 ช่วยปรับสภาพของผม : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมัน hair conditioner ที่ช่วยทำให้ผมนุ่มดำเป็นเงางาม เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมการเจริญของเส้นผม
3.2 ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ : น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะทั้งนี้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่คอยทำลายเชื้อโรค หนังศีรษะจึงไม่มีรังแค และมีวิตามินอีที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ หนังศีรษะจึงไม่เหี่ยวย่นแต่มีสุขภาพดี
3.3 ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี : เส้นผมประกอบด้วยส่วนนอก (culticle) ที่ทำหน้าที่ หุ้มส่วนใน (cortex) หากส่วนนอกอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด เส้นผมก็จะปกติ มีความยืดหยุ่น (elasticity) ทนทานต่อการบิดงอและมีความเหนียว ส่วนในซึ่งประกอบด้วยโปรตีนที่เรียกว่า เคอราทิน (keratin) ที่มีประกอบด้วยเส้นเล็ก ๆ มัดรวมกัน โปรตีนของเส้นผมจะสูญเสียหรือสลายตัวไปตามอายุขัย แต่อาจเร็วขึ้นจากการไม่รักษาผมให้ดี และการทำร้ายเส้นผม เช่น จากการดัดผม การย้อมผมด้วยน้ำยาเคมี แม้กระทั่งการหวีผมที่ใช้หวีที่คม น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดปริมาณการสูญเสียของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติยึดเกาะ (affinity) กับโปรตีนของเส้นผมได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก ในขณะที่น้ำมันทานตะวันและน้ำมันแร่ (mineral oil) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมน้ำมันใส่ผม ไม่ได้มีส่วนช่วยแต่อย่างใด เพราะไม่สามารถซึมเข้าไปในเส้นผมได้เหมือนน้ำมะพร้าว
จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทอย่างมากต่อสุขภาพ และความงามของมนุษย์ไม่ว่าจะใช้ในการบริโภคเป็นอาหาร หรืออาหารที่เป็นยาด้วย (nutraceutical หรือ functional food) และการใช้ภายนอกโดยการใช้ถูนวดตัว หรือชโลมผม เป็นต้น จากข้อมูลทั้งหมดหวังว่าจะจุดประกายกระตุ้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันกลับมาทบทวนข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา น้ำมันมะพร้าวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากสภาพประเทศไทยมีแหล่งมะพร้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในประเทศและต่างประเทศได้ จึงควรช่วยกันสนับสนุน ให้น้ำมันมะพร้าวกลับมาเป็นที่นิยมใช้และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายในอนาคตต่อไป
เรียบเรียงโดย
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
สถาบันการแพทย์แผนไทย
สร้างเมื่อ 08 - ก.พ.- 49
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สรุปประชุมวิชาการ เรื่อง "บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม"
ตอนนี้เค้านิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าวกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
โดยเฉพาะแถบยุโรปและอเมริกา
เค้าใช้ช่วยเรื่องควบคุมคลอเรสเตอรอล และบำรุงผิวพรรณ
ก็รู้ๆ กันอยู่ แถบนั้นเค้าเป็นโรคอ้วน โรคเกี่ยวกับไขมันกันเยอะ
ด้วยอาหารที่เค้าบริโภคกันเป็นประจำ
ส่วนในแถบเอเชียนิยมรับประทานมานานแล้ว
แต่พอได้รับอิทธิพลตะวันตกก็ลืมของดีของตัวเองซะหมด
....
ส่วนเรื่องสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวเท่าที่ได้ข้อมูลมา
ก็มากมายเสียเหลือเกิน จนเกินจะนำมาลงในหน้านี้ได้หมด
เรื่องนี้ เป็นเรื่องจริง
เธอเป็นเบาหวาน มานานปี และเป็นแผลที่ใต้อุ้งเท้า ตอนแรกก็เป็นแผลเล็กๆ แต่ต้องทำงานเดินทั้งวัน ทำให้แผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ล้างแผลที่โรงพยาบาลเกือบทุกวัน แผลก็ไม่แห้งสักที แถมยังติดเชื้อขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ จนหมอต้องสั่งให้นอนโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ เพื่อดูแลไม่ให้เธอทำงาน
แผลจะได้หาย แถมเท้ายังบวมและความรู้สึกตรงเท้าเริ่มชาๆ ไม่มีความรู้สึก แต่ก็ไม่หายจนหมอต้องคว้านรูแผลให้กว้างและลึกเพื่อไม่ให้ติดเชื้ออีก รักษามาได้ 6-7 เดือนแผลก็ไม่หาย สาเหตุเพราะเธอเป็นเบาหวาน
ในที่สุดก็ลองให้เธอกินน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 100% virgin coconut oil วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารปรากฏว่าแผลเริ่มดูนิ่มนวลขึ้น จากคำบอกเล่าของพยาบาลที่ล้างแผลให้ทุกวัน เพราะก่อนหน้าตอนล้างแผลพยาบาลคนเดียวกันบอกว่าแผลค่อยข้างแข็งกระด้าง ถามเธอว่าไปทำอะไรมาทำไมแผลดูสดและนิ่มนวลขึ้น และเธอเริ่มมีความรู้สึกที่เท้ามากขึ้น เธอกินน้ำมันมะพร้าวอยู่ประมาณ 1 เดือน ปรากฏว่าเกิด
ปาฏิหาร แผลของเธอได้ปิดสนิท หายจากการติดเชื้อแล้ว เธอสามารถเดิน และทำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไปได้แล้ว หลังจากที่แผลหายสนิทแล้ว เท้าที่บวมและผิวที่เท้ายังดูแข็งกระด้างอยู่ จึงให้เธอทาและนวดด้วยน้ำมันมะพร้าว เพียงไม่กี่วันเท้าของเธอก็ดูดีจนเกือบปกติแล้ว
นอกจากนี้เธอยังกินน้ำมันมะพร้าวอยู่เช่นเดิมเพื่อรักษาโรคเบาหวานต่อไป ปรากฏว่าเธอดูดีขึ้นเรื่อยๆ อาการต่างๆไม่ค่อยปรากฏให้เห็น และยังรู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นด้วย สามารถไปใหนมาใหนได้ตามต้องการโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น เธอดีใจมาก เหมือนเกิดใหม่ เธออายุ 58 ปี เป็นแม่ค้า
จ.สุราษฎร์ธานี
เพื่อนๆเธอที่โรงพยาบาล ที่เป็นเบาหวานเช่นกัน ได้สอบถามเธอและก็นำไปปฏิบัติอยู่ ซึ่งมีความพอใจมากเพราะแผลเริ่มดูดีขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์100% จึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดี และรวดเร็ว
From Products Mercola.com
The Hidden Truth About Coconut Oil
The truth about coconut oil is obvious to anyone who has studied the health of those who live in traditional tropical cultures, where coconut has been a nutritious diet staple for thousands of years.
Those living in tropical populations who follow traditional diets high in coconut oil and coconut products enjoy overall good health.
Back in the 1930’s, a dentist named Dr. Weston Price traveled throughout the South Pacific, examining traditional diets and their effect on dental and overall health. He found that those eating diets high in coconut products were healthy and trim, despite the high fat concentration in their diet.
Similarly, in 1981, researchers studied populations of two Polynesian atolls. Coconut was the chief source of caloric energy in both groups. The results, published in the American Journal of Clinical Nutrition, demonstrated that both populations exhibited positive vascular health. There was no evidence that the high saturated fat intake had a harmful effect in these populations.
Coconut Oil – Your Smart Alternative to Those Other Oils
So, now that you have heard the history behind coconut oil's unfortunate "fall from grace", you should also know today's good news: coconut oil is finally beginning to get the respect it deserves as a smart alternative to other oils.
The many benefits of coconut oil are finally reaching the mainstream.
Benefits like:
Promoting your heart health
Promoting weight loss when and if you need it
Supporting your immune system health
Supporting a healthy metabolism
Providing you with an immediate energy source
Helping to keep your skin healthy and youthful looking
Supporting the proper functioning of your thyroid gland
Plus, our recent Mercola.com survey discovered that users of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil:
Gained peace of mind knowing they were making the smartest oil choice
Loved the taste and the enhanced flavor added to their food
Embraced the improvement made to their skin when used as a lotion
With all of these fantastic perks from pure coconut oil, it probably won’t surprise you to…
Peek Inside My Pantry to See the Only Oil I Cook With
I must confess...
"Coconut oil is transforming my health! Not only am I losing weight, but my skin, hair (damaged with spit ends), and nails (soft and brittle) are healthier. And it didn't take that long. I just put the coconut oil in fruit smoothies in the morning. Imagine what health improvements my body would have if I (and I will) increase my coconut oil intake to cooking with it!
"Also, my biggest health success with coconut oil has been the support it gives to my immune system. I feel less fatigued, I'm sleeping less, and feeling great! Thank you, Dr. Mercola! Bravo!"
-- J Newman from Monterey, CA
If you could peek inside my pantry, you would find two oils that I use in food preparation.
The first, extra-virgin olive oil, is a better monounsaturated fat. It works great as a salad dressing.
However, it is not the best oil to cook with. Due to its chemical structure, cooking makes it susceptible to oxidative damage.
And polyunsaturated fats, which include common vegetable oils such as corn, soy, safflower, sunflower and canola, are absolutely the worst oils to use in cooking. These omega-6 oils are highly susceptible to heat damage because of all the double bonds they have.
I strongly urge you to throw out those omega-6 vegetable oils in your cabinets. Why?
Reason #1: Most people believe that frying creates trans fats. That is not the major problem, in my opinion. Although some are created, they are relatively minor. There are FAR more toxic chemicals produced by frying omega-6 oils than trans fats.
Frying destroys the antioxidants in oils and as such oxidizes the oils. This causes cross-linking, cyclization, double-bond shifts, fragmentation and polymerization of oils that cause far more damage than trans fats.
Reason #2: They contribute to the overabundance of omega-6 fats in your diet, and the imbalance of the omega-6 to omega-3 ratio. As you know from my extensive writing on this subject, I believe that excessive consumption of omega-6 fats contributes to many health concerns.
There is only one oil that is stable enough to resist heat-induced damage, while it also helps you promote heart health, maintain normal cholesterol levels and even supports weight loss — coconut oil.
So, whenever you need an oil to cook with, use coconut oil instead of butter, olive oil, vegetable oil, margarine, or any other type of oil called for in recipes. Even though I don’t fully recommend frying foods, if you must fry, by all means use coconut oil — it’s your smartest choice.
Curiously, coconut oil contains the most saturated fat of all edible oils. We continue to be inundated by media portrayals of saturated fats as dangerous, but now you know better. And now you should have more peace of mind, knowing that you’re making the right choice by using great-tasting Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil.
Coconut Oil Is Not Just For Cooking & Eating — Your Skin Likes It, Too!
The benefits of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil don't stop in your kitchen. For decades, professional massage therapists have used pure coconut oil to knead away tight stressed muscles.
Several months ago I took Dr. Mercola's advice and started using coconut oil on my skin. It has done wonders for me! A few weeks ago my husband and I celebrated our 7th wedding anniversary, and drove to my friend's place of business to have her re-bless our marriage (she married us 7 years ago). When we walked into her business, she immediately recognized my husband, but didn't recognize me! In fact, she told me later that she wondered who the younger woman was with my husband!!!! -- that's so funny, considering my friend and I have known each other since 1980! Just thought I would share.
-- Annie Flanders, Snohomish WA
However, you don't have to be a professional massage therapist to gain the skin and tissue support benefits of coconut oil. Feel free to use this high-quality coconut oil as you would any lotion.
Coconut oil is ideal for skin care. It helps protect your skin from the aging effects of free radicals, and can help improve the appearance of skin with its anti-aging benefits.
In fact, physiologist and biochemist Ray Peat, Ph.D. considers coconut oil to be an antioxidant, due to its stability and resistance to oxidation and free radical formation. Plus, he feels it reduces our need for the antioxidant protection of vitamin E.
Like Dr. Peat, many experts believe coconut oil may help restore more youthful-looking skin. When coconut oil is absorbed into the skin and connective tissues, it helps to reduce the appearance of fine lines and wrinkles by helping to keep connective tissues strong and supple.
Coconut oil will not only bring temporary benefits to the skin, but it will aid in restoring your skin's youthful appearance. The coconut oil will aid in exfoliating the outer layer of dead skin cells, making the skin smoother. It also penetrates into the deeper layers of the skin to strengthen the underlying tissues.
Responders to the Mercola.com survey provided remarkable feedback on how Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil supported healthy skin, including:
Smoothing and moisturizing effects
Promoted skin elasticity
Convenient eye make-up remover
Use in shaving applications
Surprise! Coconut Oil Is Also Good For Your Heart...
FACT: Heart disease is the #1 cause of death in the U.S. And heart disease is often a silent killer. The first sign of cardiovascular disease is commonly a heart attack, and sadly, over one third of heart attacks are fatal.
And despite the propaganda, the truth is this: it is UNSATURATED fats that are primarily involved in heart disease, not the saturated fats, as you have been led to believe. As you saw earlier, countries that subsist on a coconut-based diet appear to enjoy good heart health.
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is 100% organic, made from fresh-picked coconuts, and contains no chemical additives or trans-fats.
The U.S. Department of Health and the FDA estimate that artificially hydrogenated trans-fats — the type found in fast food, processed foods and your favorite pastries — are ultimately responsible for a huge number of fatal heart attacks every year. These dangerous unsaturated fats are the ones you should ban from your diet, not naturally pure coconut oil, which is a better alternative because it contains very few fats with highly perishable double bonds — and also has NO TRANS-FATS.
Plus, those commonly-used polyunsaturated fats encourage the formation of blood clots by increasing platelet stickiness. Coconut oil helps to promote normal platelet function.
A Fat Is A Fat... Or Is It?
All fats are not equal.
And just so we're clear, the terms "fats" and "oils" are often used interchangeably, but fat is more correctly considered solid at room temperature, while oils are liquid. But what's really important is the structure.
The unique health benefits of coconut oil are directly related to its chemical structure, or more precisely, the length of its fatty acid chains.
Coconut oil is comprised of medium-chain fatty acids (MCFAs), also called medium-chain triglycerides or MCTs.
Coconut oil is nature's richest source of these healthy MCFAs.
By contrast, most common vegetable or seed oils are comprised of long chain fatty acids (LCFAs), also known as long-chain triglycerides or LCTs.
There are several reasons to explain why these long-chain fatty acids are not as healthy for you as the MCFAs in coconut oil:
LCFAs are difficult for the body to break down — they must be packaged with lipoproteins or carrier proteins and require special enzymes for digestion.
LCFAs put more strain on the pancreas, the liver and the entire digestive system.
LCFAs are predominantly stored in the body as fat. (That's why most people buy into the myth that fats are automatically "fattening".)
LCFAs can be deposited within arteries in lipid forms such as cholesterol.
On the other hand, however, the MCFAs in coconut oil are more health-promoting, because:
MCFAs are smaller. They permeate cell membranes easily, and do not require lipoproteins or special enzymes to be utilized effectively by your body.
MCFAs are easily digested, thus putting less strain on your digestive system. This is especially important for those of you with digestive or metabolic concerns.
MCFAs are sent directly to your liver, where they are immediately converted into energy rather than being stored as fat.
MCFAs in coconut oil can actually help stimulate your body's metabolism, leading to weight loss.
Coconut Oil Is the Dieter's Best Friend
If you live in the United States, you have a 55% chance of being overweight.
And, by now, I'm sure you're aware that obesity affects your quality of life and is linked to many health concerns.
One of the best benefits of coconut oil lies in its ability to help stimulate your metabolism.
Back in the 1940s, farmers found out about this effect by accident when they tried using inexpensive coconut oil to fatten their livestock.
Outside of mother's milk, pure coconut oil is nature's most plentiful source of lauric acid.
It didn't work!
Instead, coconut oil made the animals lean, active and hungry.
Now, I'm certainly not comparing you to a farm animal...
However, many animal and human research studies have demonstrated that replacing LCFAs with MCFAs results in both decreased body weight and reduced fat deposition.
So, by changing the fats in your diet from the unsaturated long-chain fatty acids found in vegetable or seed oils to the MCFAs in coconut oil, along with following an exercise plan, you may find yourself gradually losing those unnecessary pounds.
The reasons are simple:
The long-chain fats nearly always go to fat storage, while the MCFAs are burned for energy
Since coconut oil helps to stimulate your metabolism, you may burn more calories each day, helping to accelerate weight loss (and probably your activity and energy level, too)
Mercola.com survey respondents provided many examples of how coconut oil got them started optimizing their weight. Here are a few excerpts:
“I lost about 24 pounds in 6-8 weeks”
“I wasn't really overweight to begin with but I have lost some of my excess belly fat”
“In conjunction with exercise and eliminating most starches from my diet, I have lost 45 pounds over the past 5 months”
“I have been losing weight and body fat”
“Besides the good taste, my weight seems to have stabilized”
Coconut oil has often been compared to carbohydrates in its ability to be "burned" for energy. However, since insulin is not involved in the process of digesting the MCFAs in coconut oil, you won't get those carb-related spikes in your blood sugar level. This is especially good news for those of you concerned about maintaining normal blood sugar levels.
In fact, the ability of MCFAs to be easily digested, to help stimulate the metabolism and be turned into energy has entered the sports arena. Several studies have now shown that MCFAs enhance physical or athletic performance.
Additionally, research has demonstrated that, due to its metabolic effect, coconut oil increases the activity of the thyroid. And you've probably heard that a sluggish thyroid is one reason why some people are unable to lose weight, no matter what they do.
Besides weight loss, there are other advantages to boosting your metabolic rate. Your healing process accelerates. Cell regeneration increases to replace old cells, and your immune system functions better overall.
Coconut Oil's Natural "Miracle" Ingredient: Lauric Acid
Yes, it's true.
Nature still has a few miracles up her sleeve.
You've probably heard that breast milk is jam-packed with nutrients and disease-fighting ingredients that help keep babies healthy.
Well, incredibly, coconut oil contains one of the same compounds — lauric acid — found in mother's milk! And lauric acid is the predominant type of MCFA found in coconut oil.
Fortunately for our health, lauric acid in both breast milk and coconut oil transforms when consumed into a substance called monolaurin, the actual compound responsible for helping to strengthen the immune system.
Skeptical? So were a lot of scientists, who've proceeded to test the heck out of this substance.
In fact, a great volume of research has been done establishing the ability of lauric acid to enhance immunity.
What researchers found was that this medium-chain fatty acid derivative actually disrupts the lipid (or fatty) membranes of the offending organisms.
The lauric acid in coconut oil is one effortless way to help strengthen your immune system.
And, unlike the usual lauric acid content of 42-49% in many coconut oil brands, Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil contains a whopping 57% of lauric acid.
If all this wasn't enough, coconut oil has even more tricks up its sleeve.
Why You Must Be Choosy About Your Brand of Coconut Oil
As you may know, there is a very wide variety in coconut oil due to factors such as the manufacturing process used to make the oil, the age and type of coconuts, and other issues that impact the quality, effectiveness and healthiness of your coconut oil.
Meeting such high standards is no small feat, but you should not settle for anything less if you want to experience all the health benefits of coconut oil. (If you are currently using or considering another brand, please make sure it meets the requirements below.)
The only reason Mercola.com is now offering Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is that we made sure that it meets all these requirements of a better coconut oil, including:
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil
Certified organic by USDA standards
No refining
No chemicals added (including hexane)
No bleaching
No deodorization
No hydrogenation
Made from traditional coconut palms only, no hybrid or genetically modified (GMO) varieties
Made from fresh coconuts, not the dried "copra" used in cheap oils
Made without heat processing
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is made from fresh coconuts — opened less than 48 hours after they are picked from the trees. These coconuts are grown and processed organically, without potentially harmful fertilizers, additives or chemical solvents.
Adding Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil to your pet's diet is one of the smartest things you can do to enhance your pet's life.
In contrast, most commercial coconut oils are made from copra, the dried up meat from coconuts. Using the cheaper copra-grade coconut means that the oil extracted may not be sanitary, and, in my opinion, it is not suitable for human consumption.
It must not be refined or purified. In fact, this type of inferior coconut oil is called RBD — refined, bleached and deodorized.
Mass-producing coconut oil in this manner typically uses nutrient-removing heat, chemical solvents, bleaching agents and sometimes even hydrogenating processes, which can create trans fats.
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is made without heat processing. The fresh coconuts are first cold pressed to make a coconut emulsion. After being chilled to help pull out the oils, the milk goes through a centrifuge, where the pure oil spins away from the water layer. This results in a pure and natural, organic, unrefined and highly stable coconut oil.
Additionally, blindfolded taste tests confirm this coconut oil to have a fresh and mild, light coconut flavor — and to consistently beat out other brands in taste. And of course, laboratory analysis continues to confirm the high quality of this extra virgin coconut oil.
Even More Reasons to Replace Those Other Oils With Extra Virgin Coconut Oil
The use of coconut oil is one of the smartest dietary measures I recommend.
The medium-chain fats in coconut oil are considered so nutritious that they have been used in baby formulas, and in hospitals to feed the critically ill, those on tube feeding, and those with digestive problems.
Coconut oil is exceptionally helpful for pregnant women, nursing moms, the elderly, those concerned about digestive health, athletes (even weekend warriors), and those of you who just want to enhance your overall health.
No guilt. No cholesterol. No trans-fats. No downside. Only your peace of mind.
The light, non-greasy taste of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is so delicious, you'll want to use it nearly every time you cook. Just to get you started, here are a few things you can do with your coconut oil:
Whenever you fry, stir-fry or sauté veggies, eggs, poultry, fish or whatever, use coconut oil for a health-conscious light flavor
Toss some coconut oil into your smoothies or juiced drinks for a burst of lauric acid
Make your own mayonnaise with coconut oil
Use it on your salads for a tropical flair
Try it on popcorn instead of butter
NOW Is the Best Time to Order Your Own Extra Virgin Coconut Oil!
"I have been using the virgin coconut oil for 3 years now in all of my cooking and it is just wonderful!! I love how it cooks and the nice flavor it adds to all food. Since using the coconut oil and the health/life suggestions, I have felt better than ever.
"I credit all the healthful tips and my healthy lifestyle to having a great pregnancy and birth experience during the past year. I have shared the benefits of the coconut oil to my whole family, friends, and coworkers. They are now all users of the coconut oil!!"
--Sharon Hughes from Seattle, WA
I cannot stress enough how powerfully beneficial this oil is. After reading this far, now you too can see why coconut oil is causing such a sensation among health-conscious individuals everywhere. And why our survey respondents raved about how it gave them peace of mind knowing they were making the smartest oil choice.
วันที 25 - ส.ค.- 51
การบรรยายประชุมวิชาการ เรื่อง บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ และความงาม
โดย : ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา
สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ (วันพุธ)
เรื่อง "บทบาทของนำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ และความงาม"
โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ
มะพร้าว เป็นพืชพื้นเมืองของไทย ซึ่งบรรพบุรุษได้นำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้น จนมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้สารพัดประโยชน์ และเป็นพฤกษาชีวิน หรือ Tree of life เนื่องจากเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย มาตั้งแต่โบราณกาล โดยที่คนไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง น้ำมันมะพร้าวและกะทิซึ่งเป็นไขมันประเภทอิ่มตัว (saturated fat) ถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง และเมื่อบริโภคเข้าไป ร่างกายก็ไปเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสโลหิต อันเป็นสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือดทำให้หัวใจวายเพราะขาดเลือด จึงมีการรณรงค์ให้หันไปบริโภคน้ำมันพืชที่ ไม่อิ่มตัว(unsaturated fat) แทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีรายงานการวิจัยซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ตีพิมพ์ซึ่งชี้ให้เห็นว่า น้ำมันมะพร้าวที่เคยถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจนั้นไม่เป็นความจริง เพราะผลการวิจัยสรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก แต่น้ำมันที่ไม่อิ่มตัวทั้งหลายกลับเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเสื่อมและโรคอื่นๆ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร เช่น คนอเมริกันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากทุกคนพากันบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันไม่อิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดมาเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับน้ำมันมะพร้าวเพราะมีประโยชน์ทั้งในแง่ต่อสุขภาพและความงาม ซึ่งถ้าย้อนไปในยุคสมัยบรรพบุรุษของไทย อาหารไทยทั้งคาวและหวานหลายชนิด ต้องใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นเครื่องปรุง นอกจากนั้นยังใช้บำรุงสุขภาพและความงาม เช่น ใช้น้ำมันมะพร้าวทานวดตัวเพื่อรักษาโรคกระดูก ปวดเมื่อย และรักษาผิวไม่ให้กร้านแดดและเหี่ยวย่น ตลอดจนใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมผมให้ดกดำเป็นเงางาม แต่คนสมัยใหม่กลับพึ่งพาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยากันแดด ครีม โลชั่น ซึ่งบางชนิดกลับเป็นผลเสียต่อสุขภาพ และความงามของผู้บริโภคอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น
ชนชาติของประเทศทวีปเอเชีย เช่น ศรีสังกา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง โดยใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบของอาหาร คนกลุ่มนี้ก็มีสุขภาพแข็งแรง และไม่ค่อยมีคนอ้วนหรือเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจเป็นจำนวนมากเหมือนกับพวกชาวตะวันตก และในด้านความงามก็เช่นเดียวกัน คนพื้นเมืองในประเทศเหล่านี้แม้ว่าบางเชื้อชาติจะมีผิวคล้ำแต่มีผิวที่เนียนไม่แตกลายหรือเหี่ยวย่น แต่ผิวพรรณกลับดูอ่อนกว่าวัย เส้นผมสลวยดกดำเป็นเงางามอันเนื่องมาจากใช้น้ำมันมะพร้าวมาทาผิว และชโลมเส้นผมนั่นเอง
ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามกระบวนการผลิตดังนี้
1. น้ำมันมะพร้าว RBD สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวห้าวโดยการบีบ หรือใช้ตัวทำละลาย ผ่านความร้อนสูง และขบวนการทางเคมี RBD คือการทำให้บริสุทธิ์ (refining) ฟอกสี (bleaching) และกำจัดกลิ่น (deodorization) หลังจากที่สกัดได้ เพื่อให้เหมาะสำหรับการบริโภค ได้น้ำมันสีเหลืองอ่อนไม่มีกลิ่นและรส ปราศจากวิตามินอี (เพราะถูกขจัดออกไปโดยขบวนการทางเคมี) มีปริมาณกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ไม่เกิน 0.1 % ปัจจุบันไม่ค่อยมีจำหน่าย เพราะโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวประเภทนี้ส่วนใหญ่เลิกดำเนินกิจการไปนานแล้ว
2. น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (cold-pressed coconut oil) โดยขบวนการบีบไม่ผ่านความร้อนสูง ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidation) มีค่า peroxide และกรดไขมันอิสระต่ำมีกลิ่นมะพร้าวอย่างอ่อน ๆ ถึงแรง (ขึ้นอยู่กับขบวนการการผลิต) มีความชื้นไม่เกิน 0.1 % เรียกน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin Coconut Oil) เป็นน้ำมันที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือในครัวเรือน
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเป็นน้ำมันมะพร้าวประเภทพรหมจรรย์ จึงขออธิบายถึงองค์ประกอบเฉพาะของน้ำมันประเภทนี้ ซึ่งมีส่วนทำให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชชนิดเดียวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และความงามของมนุษย์มากที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin Coconut Oil)
ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวมีสารที่มีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้
1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids)
น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว กว่า 90 % อะตอมของธาตุคาร์บอนของกรดไขมันที่อิ่มตัวจะต่อกันเป็นเส้น (chain) โดยมีพันธะเดี่ยว (single bond) จับกันเองเป็นเส้นยาวตามจำนวนของคาร์บอน แต่ละอะตอมของคาร์บอนจะมีไฮโดรเจนติดอยู่ 2 ตัว เนื่องจากแต่ละอะตอมของคาร์บอนไม่สามารถรับไฮโดรเจนได้อีกเพราะไม่มีพันธะว่าง จึงเรียกน้ำมันที่มีกรดไขมันประเภทนี้ว่า “น้ำมันอิ่มตัว” กรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่ มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน 8 – 14 ตัว กรดไขมันที่สำคัญได้แก่ กรด คาปริก (carpic acid – C10) กรดลอริก (Lauric acid – C12) และกรดไมริสติก (myristic acid – C14) ทำให้โมเลกุลมีความยาวของเส้น (chain) ขนาดปานกลาง
นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) แต่มีเพียง 9 % ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัว ไม่มีไฮโดรเจน 2 ตัวมาจับ จึงต้องจับคู่กันเองด้วยพันธะคู่ (double bond) จึงเป็น กรดไขมันที่มีพันธะคู่เพียงหนึ่งคู่
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid) คือ กรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 คู่ ส่วนใหญ่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมาก จึงทำให้โมเลกุลมีความยาวมาก เช่น กรดลินโนเลอิก (linoleic acid – C18)
2. กรดลอริก (lauric acid)
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันจากพืชชนิดเดียวในโลกที่มีกรดลอริก อยู่ในปริมาณที่สูงมาก ประมาณ48 – 53 % และกรดลอริกนี้เอง ที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพและ ความงามของมนุษย์ น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาปริก (capric acid) ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อยกว่ากรดลอริก คือ มีเพียง 6-7 % แต่ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของกรดลอริก
องค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันพืชบางชนิด
3. วิตามินอี (vitamin E)
น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการ RBD ยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ และก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวโดดเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ
บทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว และแต่ละองค์ประกอบก็มีบทบาททางสรีรวิทยาที่เสริมให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพและความงามของผู้บริโภค ดังคำอธิบายต่อไปนี้
1. ความอิ่มตัว
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัวโดยที่พันธะ (bond) ที่จับกันระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) ทำให้มีความเสถียรหรืออยู่ตัว (stability) สูงจึงไม่ถูกอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรก ซึ่งเรียกว่า hydrogenation และ oxidation ได้ง่าย ๆ และ ไม่มีกลิ่นหืนเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะพวกที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated oil) ซึ่งมีพันธะคู่หลายตำแหน่งเมื่อถูกความร้อนสูงจะทำให้เกิดเป็นเกิดเป็น trans fatty acids ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลาย เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane) อันเป็นผลทำให้เซลล์อ่อนแอจนเชื้อโรคและสารพิษเข้าไปได้สะดวก ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เปลี่ยนแปลงกลไกของร่างกายในการขจัดคอเลสเตอรอลโดยการขัดขวางการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในตับ จึงทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ลดปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองของมารดา เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรล ในเพศชาย เป็นต้น
2. กรดไขมันขนาดกลาง
การที่กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวที่โมเลกุลขนาดกลาง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้
2.1 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว : ร่างกายของมนุษย์สามารถเปลี่ยนน้ำมันมะพร้าวให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง (C8 – C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 แสดงความแตกต่างของโมเลกุลไขมันในการเปลี่ยนเป็นพลังงาน
2.2 เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม : นอกจากจะเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็วดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังไปเร่งอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) เพราะมันมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) โดยไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้น คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroid) ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา บุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เป็นคนกระฉับกระเฉง (active) และไม่อ้วน เพราะน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไปถูกเผาผลาญเป็นพลังงานหมดไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย
2.3 ช่วยลดน้ำหนัก : การบริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะไม่ทำให้อ้วนแล้ว ยังสามารถลดความอ้วนจากผลของการเกิดความร้อนสูงในร่างกาย โดยการไปนำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้ จนมีคำที่ว่า “Eat Fat – Look Thin”
3. กรดลอริกและโมโนลอริก
น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (lauric acid) อยู่ประมาณ 50 % กรดนี้ มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสามารถพิเศษ คือ
3.1 สร้างภูมิคุ้มกัน : เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride) ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน (monolaurin) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค
3.2 ฆ่าเชื้อโรค : โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และไวรัส ไวรัสบางชนิด ที่ยาปฏิชีวนะทั่วไป ทำลายไม่ได้เนื่องจากมีเกราะที่เป็นไขมันห่อหุ้ม (lipid-coated membrane) แต่เกราะนี้ก็จะถูกละลายโดยน้ำมันมะพร้าวเพื่อเปิดโอกาสให้โมโนลอรินเข้าไปฆ่าเชื้อโรค สารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าวไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และจะถูกสร้างขึ้นในร่างกายของมนุษย์เมื่อบริโภคอาหารที่มีกรดลอริก อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้
4. กรดคาปริกและโมโนคาปริน
แม้ว่าจะมีอยู่เพียง 6-7 % แต่กรดคาปริก (capric acid) ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของโมโนลอริน โดยการเปลี่ยนเป็นสารโมโนคาปริน (monocaprin) เมื่อน้ำมันมะพร้าวถูกบริโภคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกันกับโมโนลอริน ทั้งนี้ก็เพราะประสิทธิภาพของการทำงานของโมโนลอริน และโมโนคาปรินขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่
5. วิตามิน
น้ำมันมะพร้าว ที่ผลิตจากมะพร้าวแห้งที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ตลอดจนถูกแสงแดดและความร้อน เมื่อนำไปสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยวิธีหีบหรือ การใช้ตัวทำละลาย จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ดี โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้มันไม่หืน และเมื่อถูกนำไปผ่านขบวนการทางเคมี RBD ก่อนที่จะนำไปบริโภคจะสูญเสียวิตามินอีไป แต่ก็ยังเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ตราบใดที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยขบวนการเติมไฮโดรเจนหรือเติมสารกันเสีย (preservatives) เพื่อรักษาสภาพให้คงทนและไม่หืน แต่น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ ซึ่งสกัดได้โดยวิธีหมัก หรือวิธีบีบเย็นไม่ใช้อุณหภูมิสูง และไม่ผ่านขบวนการทางเคมี จะยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
5.1 ต่อต้านอนุมูลอิสระ : วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ รังสี ความเครียด ฯลฯ โดยปกติร่างกายของมนุษย์มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระคอยทำลายอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่เมื่อบริโภคน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัวซึ่งถูกเติมออกซิเจน (oxidized) ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างการขนส่ง การวางจำหน่าย และการเก็บรักษาก่อนบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นน่าจะไปลบล้างประสิทธิภาพ (neutralize) ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพโดยสูญเสียอีเล็กตรอน (electron) จึงไปจับกับโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงต่อไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นผลทำให้เซลล์ผิดปกติไป เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด เปลี่ยนสารพันธุกรรมใน นิวเครียส เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม (degenerative diseases) เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน โรคภูมิแพ้ ชราภาพก่อนวัย เป็นต้น
5.2 สารโทโคไทรอีนอล (tocotrienol) วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีอานุภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอล (tocopherol) ซึ่งอยู่ในวิตามินอีทั่วไป โดยเฉพาะที่มีอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวถึง 40-60 เท่า ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าวจึงต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ
สุขภาพที่ดีของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับสถานภาพ 4 ประการ คือ
1. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
จากบทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าวที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณทางอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน และเกลือแร่ ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าของอาหารโดยการเพิ่มการดูดวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก จึงถูกย่อยง่าย และเคลื่อนที่เร็วไปตามของเหลวในร่างกาย จึงเป็นที่นิยมใช้หุงต้มอาหารสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาการย่อยไขมัน และยังใช้ในสูตรน้ำนม เพื่อให้ไขมันที่จำเป็นแก่เด็กทารก และช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูก
2. ช่วยให้ปลอดจากโรคไม่ติดเชื้อ
โรคไม่ติดเชื้อที่ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนในการลดอัตราการเกิด ได้แก่
2.1 โรคหัวใจ : จากผลการวิเคราะห์พบว่า น้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยมาก เพราะมีเพียง 14 ส่วนในล้านซึ่งน้อยกว่าน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมี 28 ส่วน และที่สำคัญคือ เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไป ในร่างกาย ก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลในกระแสโลหิต อีกทั้งยังไม่ได้ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวเหมือนกับน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) ในขบวนการผลิต และถูกเติมออกซิเจน (oxidize) ระหว่างเดินทางก่อนถูกบริโภค จนเกิดเป็นtrans fatty acids ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลิ่มเลือด และไปอุดตันหลอดเลือด นอกจากนั้นน้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอีที่ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ นักโภชนาการสมัยใหม่จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้หัวใจมีสุขภาพดี เพราะเป็นหนึ่งในสองชนิดของน้ำมันบริโภค ซึ่งช่วยลดความหนืด (stickiness) ของเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยโคเลสเตอรอลจริงหรือ?
ชนิดของน้ำมัน
ปริมาณคอเรสเตอรอล (ส่วนต่อล้าน)
น้ำมันมะพร้าว 14, น้ำมันปาล์ม 18 ,ถั่วเหลือง 28 ,น้ำมันข้าวโพด 50
เนยเหลว 3,150, น้ำมันหมู 3,500
2.2 โรคมะเร็ง : น้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง ด้วยกลไก 2 วิธี คือ
(1) เนื่องจากเป็นน้ำมันประเภทอิ่มตัวจึงไม่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) และแตกตัวเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง
(2) มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีน เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง และการทำร้ายเซลล์ การใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมตัว ก็ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ดีกว่ายาทากันแดดราคาแพง
2.3 โรคอ้วน : โรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพต่าง ๆ เช่น การมีไขมันในเลือดสูงเป็นโรคเบาหวานมีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนโรคข้ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับ ฯลฯ การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง (ในขบวนการ thermogenesis) ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญอาหาร หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) สูงเกิดเป็นพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังช่วยทำลายไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ นำไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน
2.4 โรคเบาหวาน : ผลพลอยได้ของการเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานจากการบริโภคน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายไม่สะสมน้ำตาล เพราะถูกใช้ไปเป็นพลังงานหมด อีกทั้งยังไม่ทำให้ผู้ป่วยอยากรับประทานอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานไปได้โดยปริยาย
2.5 โรคปวดเมื่อย โรคชราภาพก่อนวัย โรคมะเร็งผิวหนัง และโรคกระดูก : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้ดี เพราะมีขนาดของโมเลกุลเล็กจึงนิยมใช้นวดตัวให้หายปวดเมื่อย และผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังปกป้องการทำลายของแสงอัลตราไวโอเลตที่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย และเป็นมะเร็งผิวหนัง ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของกระดูกให้แข็งแรง แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำน้ำมันมะพร้าว มาประกอบเป็นสูตรยาแผนโบราณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูก อันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุ
3. ช่วยให้ร่างกายปลอดจากโรคติดเชื้อ
จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคเป็นสาเหตุของโรคของมนุษย์มากมายเหลือคณานับ แต่ก็แปลกที่เด็กทารกแรกคลอดที่ดูดน้ำนมมารดาเป็นประจำมักไม่ค่อยเป็นโรคเหล่านี้ ทั้งนี้ก็เพราะมีภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากน้ำนมมารดา ได้มีการค้นพบว่าสารสำคัญในนมน้ำเหลือง (cholostum) ของมารดานี้ คือ กรดลอริก ซึ่งเมื่อเข้าไป ในร่างกายก็เปลี่ยนไปเป็นสารโมโนลอริน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนั่นเอง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพบว่ามีกรดลอริกสูงมากถึง 48-53% ซึ่งมากกว่าในน้ำนมมารดามาก ในปัจจุบันวงการแพทย์สมัยใหม่ได้แนะนำให้ประชาชนกินยาเม็ดที่มีโมโนลอรินเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
4. การรักษาโรค
จากการที่น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อ และสามารถถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้ดี และรวดเร็ว ตำราอายุรเวทของอินเดียจึงได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคมาไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี แพทย์แผนไทยก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคทั้งภายในและภายนอกมาเป็นเวลาช้านาน เช่น ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย ยารักษาโรคกระดูก ยารักษาแผลเน่าเปื่อย ส่วนตำราแพทย์แผนไทยในปัจจุบันก็แนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคกระดูกที่เกิดจากอุบัติเหตุ รักษา เม็ดผดผื่นคัน ลบริ้วรอย แผลฟกช้ำ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และป้องกันแสงแดด และความร้อน แม้กระทั่งแพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตก ก็ให้คนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือการดูดซึมอาหาร เด็กทารกรวมทั้งเด็กเล็กที่ไม่สามารถย่อยไขมัน กินน้ำมันมะพร้าวเป็นยารักษาโรค ศักยภาพของน้ำมันมะพร้าวในการรักษาโรคมีดังนี้
4.1 โรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เชื้อโรคที่กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายได้ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ เชื้อโปรโตซัว และเชื้อไวรัส โมโนลอรินหรือสารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าว มีจุดเด่นสองประการ คือ ไม่ทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค และสามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มเซลล์ ที่ยาปฏิชีวนะธรรมดา ไม่สามารถฆ่าได้ แต่น้ำมันมะพร้าว สามารถละลายเกราะไขมันนี้ได้ แล้วจึงเข้าไปฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ เท่าที่ได้มีการวิจัยพบว่า เชื้อโรคที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มนี้เป็นโรคร้ายในปัจจุบันที่รักษายากมาก เพราะทำลายมันไม่ได้ อย่างดีก็หยุดไม่ให้มันขยายพันธุ์โรคเหล่านี้ เช่น ไวรัสโรคเอดส์ โรค SARS ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล
4.2 โรคผิวหนัง ผิวหนังที่ถูกอนุมูลอิสระเข้าทำลาย หรือจากการถูกทำร้าย จนเกิดเป็นแผลที่เชื้อโรคจะเข้าทำลายต่อโมโนลอรินในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะจะช่วยกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้
4.3 รังแคหนังศีรษะ น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแค หากชโลมผมด้วยน้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษารังแคหนังศีรษะได้
บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความงาม
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน โดยเฉพาะยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีอยู่ในน้ำมันพืชอื่น ๆ เนื่องจากกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวมีขนาดโมเลกุลที่เล็ก ทำให้ถูกดูดซึมเข้าไปได้ง่าย เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่น ๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายจากสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทต่อความงาม ในเรื่องดังต่อไปนี้
1. รูปร่างได้สัดส่วน ไม่อ้วน แต่แข็งแรง
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวที่เราบริโภคเข้าไปสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ทันที จึงไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย อีกทั้งยังกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้น จึงนำเอาไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ก่อนหน้า ไปใช้เผาผลาญให้เกิดพลังงาน จึงช่วยลดความอ้วนได้ ดังนั้นผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน (เพราะไม่มีไขมันสะสม) แต่ร่างกายก็สันทัดสมส่วน และแข็งแรง
2. ผิวสวย
การนวดหรือชโลมตัวด้วยน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวสวย เพราะ :
2.1 ผิวดูอ่อนวัย : น้ำมันมะพร้าวที่ใช้ชโลมตัว ทั้งในรูปน้ำมันมะพร้าวสด ๆ หรือในรูปของผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว เช่น ครีม และโลชั่นจะทำให้ผิวพรรณนุ่มไม่แตกแห้งเป็นกระ หรือฝ้า แต่ชุ่มชื้นและผิวเนียน ปราศจากริ้วรอยเหี่ยวย่น ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีที่มีอานุภาพมากกว่าวิตามินอีในเครื่องสำอางช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์จากขบวนการเติมออกซิเจน (Oxidation) ช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและทับถมกันจนทำให้ผิวแห้ง ขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงทำให้ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย
2.2 ผิวนุ่มและเนียน : ตามปกติผิวหนังจะสูญเสียความชื้นเพราะถูกแดดและลม น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นสารรักษาความชุ่มชื้น (Moisturizer) จึงช่วยให้ผิวหนังนุ่มและเนียน
2.3 ช่วยป้องกันและรักษาฝ้า และกระ : อนุมูลอิสระเป็นตัวการอันหนึ่งของการเกิดฝ้า และกระ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ทำลายอนุมูลอิสระเหล่านี้ เราสามารถใช้นำมันมะพร้าวเป็นยากันแดดได้ดีอีกทั้งยังไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยากันแดดบางชนิด และราคาก็ถูกกว่า
3. ผมงาม
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) อีกทั้งยังมีสารปฏิชีวนะ (จากโมโนลอริน) และสาร antioxidant (จากสารโทโคทรินอลในวิตามินอี) จึงมีส่วนทำให้ผมงาม จากคุณสมบัติดังต่อไปนี้ :
3.1 ช่วยปรับสภาพของผม : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมัน hair conditioner ที่ช่วยทำให้ผมนุ่มดำเป็นเงางาม เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมการเจริญของเส้นผม
3.2 ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ : น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะทั้งนี้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่คอยทำลายเชื้อโรค หนังศีรษะจึงไม่มีรังแค และมีวิตามินอีที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ หนังศีรษะจึงไม่เหี่ยวย่นแต่มีสุขภาพดี
3.3 ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี : เส้นผมประกอบด้วยส่วนนอก (culticle) ที่ทำหน้าที่ หุ้มส่วนใน (cortex) หากส่วนนอกอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด เส้นผมก็จะปกติ มีความยืดหยุ่น (elasticity) ทนทานต่อการบิดงอและมีความเหนียว ส่วนในซึ่งประกอบด้วยโปรตีนที่เรียกว่า เคอราทิน (keratin) ที่มีประกอบด้วยเส้นเล็ก ๆ มัดรวมกัน โปรตีนของเส้นผมจะสูญเสียหรือสลายตัวไปตามอายุขัย แต่อาจเร็วขึ้นจากการไม่รักษาผมให้ดี และการทำร้ายเส้นผม เช่น จากการดัดผม การย้อมผมด้วยน้ำยาเคมี แม้กระทั่งการหวีผมที่ใช้หวีที่คม น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดปริมาณการสูญเสียของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติยึดเกาะ (affinity) กับโปรตีนของเส้นผมได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก ในขณะที่น้ำมันทานตะวันและน้ำมันแร่ (mineral oil) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมน้ำมันใส่ผม ไม่ได้มีส่วนช่วยแต่อย่างใด เพราะไม่สามารถซึมเข้าไปในเส้นผมได้เหมือนน้ำมะพร้าว
จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทอย่างมากต่อสุขภาพ และความงามของมนุษย์ไม่ว่าจะใช้ในการบริโภคเป็นอาหาร หรืออาหารที่เป็นยาด้วย (nutraceutical หรือ functional food) และการใช้ภายนอกโดยการใช้ถูนวดตัว หรือชโลมผม เป็นต้น จากข้อมูลทั้งหมดหวังว่าจะจุดประกายกระตุ้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันกลับมาทบทวนข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา น้ำมันมะพร้าวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากสภาพประเทศไทยมีแหล่งมะพร้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในประเทศและต่างประเทศได้ จึงควรช่วยกันสนับสนุน ให้น้ำมันมะพร้าวกลับมาเป็นที่นิยมใช้และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายในอนาคตต่อไป
เรียบเรียงโดย
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
สถาบันการแพทย์แผนไทย
สร้างเมื่อ 08 - ก.พ.- 49
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สรุปประชุมวิชาการ เรื่อง "บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม"
ตอนนี้เค้านิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าวกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
โดยเฉพาะแถบยุโรปและอเมริกา
เค้าใช้ช่วยเรื่องควบคุมคลอเรสเตอรอล และบำรุงผิวพรรณ
ก็รู้ๆ กันอยู่ แถบนั้นเค้าเป็นโรคอ้วน โรคเกี่ยวกับไขมันกันเยอะ
ด้วยอาหารที่เค้าบริโภคกันเป็นประจำ
ส่วนในแถบเอเชียนิยมรับประทานมานานแล้ว
แต่พอได้รับอิทธิพลตะวันตกก็ลืมของดีของตัวเองซะหมด
....
ส่วนเรื่องสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวเท่าที่ได้ข้อมูลมา
ก็มากมายเสียเหลือเกิน จนเกินจะนำมาลงในหน้านี้ได้หมด
เรื่องนี้ เป็นเรื่องจริง
เธอเป็นเบาหวาน มานานปี และเป็นแผลที่ใต้อุ้งเท้า ตอนแรกก็เป็นแผลเล็กๆ แต่ต้องทำงานเดินทั้งวัน ทำให้แผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ล้างแผลที่โรงพยาบาลเกือบทุกวัน แผลก็ไม่แห้งสักที แถมยังติดเชื้อขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ จนหมอต้องสั่งให้นอนโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ เพื่อดูแลไม่ให้เธอทำงาน
แผลจะได้หาย แถมเท้ายังบวมและความรู้สึกตรงเท้าเริ่มชาๆ ไม่มีความรู้สึก แต่ก็ไม่หายจนหมอต้องคว้านรูแผลให้กว้างและลึกเพื่อไม่ให้ติดเชื้ออีก รักษามาได้ 6-7 เดือนแผลก็ไม่หาย สาเหตุเพราะเธอเป็นเบาหวาน
ในที่สุดก็ลองให้เธอกินน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 100% virgin coconut oil วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารปรากฏว่าแผลเริ่มดูนิ่มนวลขึ้น จากคำบอกเล่าของพยาบาลที่ล้างแผลให้ทุกวัน เพราะก่อนหน้าตอนล้างแผลพยาบาลคนเดียวกันบอกว่าแผลค่อยข้างแข็งกระด้าง ถามเธอว่าไปทำอะไรมาทำไมแผลดูสดและนิ่มนวลขึ้น และเธอเริ่มมีความรู้สึกที่เท้ามากขึ้น เธอกินน้ำมันมะพร้าวอยู่ประมาณ 1 เดือน ปรากฏว่าเกิด
ปาฏิหาร แผลของเธอได้ปิดสนิท หายจากการติดเชื้อแล้ว เธอสามารถเดิน และทำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไปได้แล้ว หลังจากที่แผลหายสนิทแล้ว เท้าที่บวมและผิวที่เท้ายังดูแข็งกระด้างอยู่ จึงให้เธอทาและนวดด้วยน้ำมันมะพร้าว เพียงไม่กี่วันเท้าของเธอก็ดูดีจนเกือบปกติแล้ว
นอกจากนี้เธอยังกินน้ำมันมะพร้าวอยู่เช่นเดิมเพื่อรักษาโรคเบาหวานต่อไป ปรากฏว่าเธอดูดีขึ้นเรื่อยๆ อาการต่างๆไม่ค่อยปรากฏให้เห็น และยังรู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นด้วย สามารถไปใหนมาใหนได้ตามต้องการโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น เธอดีใจมาก เหมือนเกิดใหม่ เธออายุ 58 ปี เป็นแม่ค้า
จ.สุราษฎร์ธานี
เพื่อนๆเธอที่โรงพยาบาล ที่เป็นเบาหวานเช่นกัน ได้สอบถามเธอและก็นำไปปฏิบัติอยู่ ซึ่งมีความพอใจมากเพราะแผลเริ่มดูดีขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์100% จึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดี และรวดเร็ว
From Products Mercola.com
The Hidden Truth About Coconut Oil
The truth about coconut oil is obvious to anyone who has studied the health of those who live in traditional tropical cultures, where coconut has been a nutritious diet staple for thousands of years.
Those living in tropical populations who follow traditional diets high in coconut oil and coconut products enjoy overall good health.
Back in the 1930’s, a dentist named Dr. Weston Price traveled throughout the South Pacific, examining traditional diets and their effect on dental and overall health. He found that those eating diets high in coconut products were healthy and trim, despite the high fat concentration in their diet.
Similarly, in 1981, researchers studied populations of two Polynesian atolls. Coconut was the chief source of caloric energy in both groups. The results, published in the American Journal of Clinical Nutrition, demonstrated that both populations exhibited positive vascular health. There was no evidence that the high saturated fat intake had a harmful effect in these populations.
Coconut Oil – Your Smart Alternative to Those Other Oils
So, now that you have heard the history behind coconut oil's unfortunate "fall from grace", you should also know today's good news: coconut oil is finally beginning to get the respect it deserves as a smart alternative to other oils.
The many benefits of coconut oil are finally reaching the mainstream.
Benefits like:
Promoting your heart health
Promoting weight loss when and if you need it
Supporting your immune system health
Supporting a healthy metabolism
Providing you with an immediate energy source
Helping to keep your skin healthy and youthful looking
Supporting the proper functioning of your thyroid gland
Plus, our recent Mercola.com survey discovered that users of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil:
Gained peace of mind knowing they were making the smartest oil choice
Loved the taste and the enhanced flavor added to their food
Embraced the improvement made to their skin when used as a lotion
With all of these fantastic perks from pure coconut oil, it probably won’t surprise you to…
Peek Inside My Pantry to See the Only Oil I Cook With
I must confess...
"Coconut oil is transforming my health! Not only am I losing weight, but my skin, hair (damaged with spit ends), and nails (soft and brittle) are healthier. And it didn't take that long. I just put the coconut oil in fruit smoothies in the morning. Imagine what health improvements my body would have if I (and I will) increase my coconut oil intake to cooking with it!
"Also, my biggest health success with coconut oil has been the support it gives to my immune system. I feel less fatigued, I'm sleeping less, and feeling great! Thank you, Dr. Mercola! Bravo!"
-- J Newman from Monterey, CA
If you could peek inside my pantry, you would find two oils that I use in food preparation.
The first, extra-virgin olive oil, is a better monounsaturated fat. It works great as a salad dressing.
However, it is not the best oil to cook with. Due to its chemical structure, cooking makes it susceptible to oxidative damage.
And polyunsaturated fats, which include common vegetable oils such as corn, soy, safflower, sunflower and canola, are absolutely the worst oils to use in cooking. These omega-6 oils are highly susceptible to heat damage because of all the double bonds they have.
I strongly urge you to throw out those omega-6 vegetable oils in your cabinets. Why?
Reason #1: Most people believe that frying creates trans fats. That is not the major problem, in my opinion. Although some are created, they are relatively minor. There are FAR more toxic chemicals produced by frying omega-6 oils than trans fats.
Frying destroys the antioxidants in oils and as such oxidizes the oils. This causes cross-linking, cyclization, double-bond shifts, fragmentation and polymerization of oils that cause far more damage than trans fats.
Reason #2: They contribute to the overabundance of omega-6 fats in your diet, and the imbalance of the omega-6 to omega-3 ratio. As you know from my extensive writing on this subject, I believe that excessive consumption of omega-6 fats contributes to many health concerns.
There is only one oil that is stable enough to resist heat-induced damage, while it also helps you promote heart health, maintain normal cholesterol levels and even supports weight loss — coconut oil.
So, whenever you need an oil to cook with, use coconut oil instead of butter, olive oil, vegetable oil, margarine, or any other type of oil called for in recipes. Even though I don’t fully recommend frying foods, if you must fry, by all means use coconut oil — it’s your smartest choice.
Curiously, coconut oil contains the most saturated fat of all edible oils. We continue to be inundated by media portrayals of saturated fats as dangerous, but now you know better. And now you should have more peace of mind, knowing that you’re making the right choice by using great-tasting Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil.
Coconut Oil Is Not Just For Cooking & Eating — Your Skin Likes It, Too!
The benefits of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil don't stop in your kitchen. For decades, professional massage therapists have used pure coconut oil to knead away tight stressed muscles.
Several months ago I took Dr. Mercola's advice and started using coconut oil on my skin. It has done wonders for me! A few weeks ago my husband and I celebrated our 7th wedding anniversary, and drove to my friend's place of business to have her re-bless our marriage (she married us 7 years ago). When we walked into her business, she immediately recognized my husband, but didn't recognize me! In fact, she told me later that she wondered who the younger woman was with my husband!!!! -- that's so funny, considering my friend and I have known each other since 1980! Just thought I would share.
-- Annie Flanders, Snohomish WA
However, you don't have to be a professional massage therapist to gain the skin and tissue support benefits of coconut oil. Feel free to use this high-quality coconut oil as you would any lotion.
Coconut oil is ideal for skin care. It helps protect your skin from the aging effects of free radicals, and can help improve the appearance of skin with its anti-aging benefits.
In fact, physiologist and biochemist Ray Peat, Ph.D. considers coconut oil to be an antioxidant, due to its stability and resistance to oxidation and free radical formation. Plus, he feels it reduces our need for the antioxidant protection of vitamin E.
Like Dr. Peat, many experts believe coconut oil may help restore more youthful-looking skin. When coconut oil is absorbed into the skin and connective tissues, it helps to reduce the appearance of fine lines and wrinkles by helping to keep connective tissues strong and supple.
Coconut oil will not only bring temporary benefits to the skin, but it will aid in restoring your skin's youthful appearance. The coconut oil will aid in exfoliating the outer layer of dead skin cells, making the skin smoother. It also penetrates into the deeper layers of the skin to strengthen the underlying tissues.
Responders to the Mercola.com survey provided remarkable feedback on how Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil supported healthy skin, including:
Smoothing and moisturizing effects
Promoted skin elasticity
Convenient eye make-up remover
Use in shaving applications
Surprise! Coconut Oil Is Also Good For Your Heart...
FACT: Heart disease is the #1 cause of death in the U.S. And heart disease is often a silent killer. The first sign of cardiovascular disease is commonly a heart attack, and sadly, over one third of heart attacks are fatal.
And despite the propaganda, the truth is this: it is UNSATURATED fats that are primarily involved in heart disease, not the saturated fats, as you have been led to believe. As you saw earlier, countries that subsist on a coconut-based diet appear to enjoy good heart health.
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is 100% organic, made from fresh-picked coconuts, and contains no chemical additives or trans-fats.
The U.S. Department of Health and the FDA estimate that artificially hydrogenated trans-fats — the type found in fast food, processed foods and your favorite pastries — are ultimately responsible for a huge number of fatal heart attacks every year. These dangerous unsaturated fats are the ones you should ban from your diet, not naturally pure coconut oil, which is a better alternative because it contains very few fats with highly perishable double bonds — and also has NO TRANS-FATS.
Plus, those commonly-used polyunsaturated fats encourage the formation of blood clots by increasing platelet stickiness. Coconut oil helps to promote normal platelet function.
A Fat Is A Fat... Or Is It?
All fats are not equal.
And just so we're clear, the terms "fats" and "oils" are often used interchangeably, but fat is more correctly considered solid at room temperature, while oils are liquid. But what's really important is the structure.
The unique health benefits of coconut oil are directly related to its chemical structure, or more precisely, the length of its fatty acid chains.
Coconut oil is comprised of medium-chain fatty acids (MCFAs), also called medium-chain triglycerides or MCTs.
Coconut oil is nature's richest source of these healthy MCFAs.
By contrast, most common vegetable or seed oils are comprised of long chain fatty acids (LCFAs), also known as long-chain triglycerides or LCTs.
There are several reasons to explain why these long-chain fatty acids are not as healthy for you as the MCFAs in coconut oil:
LCFAs are difficult for the body to break down — they must be packaged with lipoproteins or carrier proteins and require special enzymes for digestion.
LCFAs put more strain on the pancreas, the liver and the entire digestive system.
LCFAs are predominantly stored in the body as fat. (That's why most people buy into the myth that fats are automatically "fattening".)
LCFAs can be deposited within arteries in lipid forms such as cholesterol.
On the other hand, however, the MCFAs in coconut oil are more health-promoting, because:
MCFAs are smaller. They permeate cell membranes easily, and do not require lipoproteins or special enzymes to be utilized effectively by your body.
MCFAs are easily digested, thus putting less strain on your digestive system. This is especially important for those of you with digestive or metabolic concerns.
MCFAs are sent directly to your liver, where they are immediately converted into energy rather than being stored as fat.
MCFAs in coconut oil can actually help stimulate your body's metabolism, leading to weight loss.
Coconut Oil Is the Dieter's Best Friend
If you live in the United States, you have a 55% chance of being overweight.
And, by now, I'm sure you're aware that obesity affects your quality of life and is linked to many health concerns.
One of the best benefits of coconut oil lies in its ability to help stimulate your metabolism.
Back in the 1940s, farmers found out about this effect by accident when they tried using inexpensive coconut oil to fatten their livestock.
Outside of mother's milk, pure coconut oil is nature's most plentiful source of lauric acid.
It didn't work!
Instead, coconut oil made the animals lean, active and hungry.
Now, I'm certainly not comparing you to a farm animal...
However, many animal and human research studies have demonstrated that replacing LCFAs with MCFAs results in both decreased body weight and reduced fat deposition.
So, by changing the fats in your diet from the unsaturated long-chain fatty acids found in vegetable or seed oils to the MCFAs in coconut oil, along with following an exercise plan, you may find yourself gradually losing those unnecessary pounds.
The reasons are simple:
The long-chain fats nearly always go to fat storage, while the MCFAs are burned for energy
Since coconut oil helps to stimulate your metabolism, you may burn more calories each day, helping to accelerate weight loss (and probably your activity and energy level, too)
Mercola.com survey respondents provided many examples of how coconut oil got them started optimizing their weight. Here are a few excerpts:
“I lost about 24 pounds in 6-8 weeks”
“I wasn't really overweight to begin with but I have lost some of my excess belly fat”
“In conjunction with exercise and eliminating most starches from my diet, I have lost 45 pounds over the past 5 months”
“I have been losing weight and body fat”
“Besides the good taste, my weight seems to have stabilized”
Coconut oil has often been compared to carbohydrates in its ability to be "burned" for energy. However, since insulin is not involved in the process of digesting the MCFAs in coconut oil, you won't get those carb-related spikes in your blood sugar level. This is especially good news for those of you concerned about maintaining normal blood sugar levels.
In fact, the ability of MCFAs to be easily digested, to help stimulate the metabolism and be turned into energy has entered the sports arena. Several studies have now shown that MCFAs enhance physical or athletic performance.
Additionally, research has demonstrated that, due to its metabolic effect, coconut oil increases the activity of the thyroid. And you've probably heard that a sluggish thyroid is one reason why some people are unable to lose weight, no matter what they do.
Besides weight loss, there are other advantages to boosting your metabolic rate. Your healing process accelerates. Cell regeneration increases to replace old cells, and your immune system functions better overall.
Coconut Oil's Natural "Miracle" Ingredient: Lauric Acid
Yes, it's true.
Nature still has a few miracles up her sleeve.
You've probably heard that breast milk is jam-packed with nutrients and disease-fighting ingredients that help keep babies healthy.
Well, incredibly, coconut oil contains one of the same compounds — lauric acid — found in mother's milk! And lauric acid is the predominant type of MCFA found in coconut oil.
Fortunately for our health, lauric acid in both breast milk and coconut oil transforms when consumed into a substance called monolaurin, the actual compound responsible for helping to strengthen the immune system.
Skeptical? So were a lot of scientists, who've proceeded to test the heck out of this substance.
In fact, a great volume of research has been done establishing the ability of lauric acid to enhance immunity.
What researchers found was that this medium-chain fatty acid derivative actually disrupts the lipid (or fatty) membranes of the offending organisms.
The lauric acid in coconut oil is one effortless way to help strengthen your immune system.
And, unlike the usual lauric acid content of 42-49% in many coconut oil brands, Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil contains a whopping 57% of lauric acid.
If all this wasn't enough, coconut oil has even more tricks up its sleeve.
Why You Must Be Choosy About Your Brand of Coconut Oil
As you may know, there is a very wide variety in coconut oil due to factors such as the manufacturing process used to make the oil, the age and type of coconuts, and other issues that impact the quality, effectiveness and healthiness of your coconut oil.
Meeting such high standards is no small feat, but you should not settle for anything less if you want to experience all the health benefits of coconut oil. (If you are currently using or considering another brand, please make sure it meets the requirements below.)
The only reason Mercola.com is now offering Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is that we made sure that it meets all these requirements of a better coconut oil, including:
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil
Certified organic by USDA standards
No refining
No chemicals added (including hexane)
No bleaching
No deodorization
No hydrogenation
Made from traditional coconut palms only, no hybrid or genetically modified (GMO) varieties
Made from fresh coconuts, not the dried "copra" used in cheap oils
Made without heat processing
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is made from fresh coconuts — opened less than 48 hours after they are picked from the trees. These coconuts are grown and processed organically, without potentially harmful fertilizers, additives or chemical solvents.
Adding Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil to your pet's diet is one of the smartest things you can do to enhance your pet's life.
In contrast, most commercial coconut oils are made from copra, the dried up meat from coconuts. Using the cheaper copra-grade coconut means that the oil extracted may not be sanitary, and, in my opinion, it is not suitable for human consumption.
It must not be refined or purified. In fact, this type of inferior coconut oil is called RBD — refined, bleached and deodorized.
Mass-producing coconut oil in this manner typically uses nutrient-removing heat, chemical solvents, bleaching agents and sometimes even hydrogenating processes, which can create trans fats.
Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is made without heat processing. The fresh coconuts are first cold pressed to make a coconut emulsion. After being chilled to help pull out the oils, the milk goes through a centrifuge, where the pure oil spins away from the water layer. This results in a pure and natural, organic, unrefined and highly stable coconut oil.
Additionally, blindfolded taste tests confirm this coconut oil to have a fresh and mild, light coconut flavor — and to consistently beat out other brands in taste. And of course, laboratory analysis continues to confirm the high quality of this extra virgin coconut oil.
Even More Reasons to Replace Those Other Oils With Extra Virgin Coconut Oil
The use of coconut oil is one of the smartest dietary measures I recommend.
The medium-chain fats in coconut oil are considered so nutritious that they have been used in baby formulas, and in hospitals to feed the critically ill, those on tube feeding, and those with digestive problems.
Coconut oil is exceptionally helpful for pregnant women, nursing moms, the elderly, those concerned about digestive health, athletes (even weekend warriors), and those of you who just want to enhance your overall health.
No guilt. No cholesterol. No trans-fats. No downside. Only your peace of mind.
The light, non-greasy taste of Fresh Shores Extra Virgin Coconut Oil is so delicious, you'll want to use it nearly every time you cook. Just to get you started, here are a few things you can do with your coconut oil:
Whenever you fry, stir-fry or sauté veggies, eggs, poultry, fish or whatever, use coconut oil for a health-conscious light flavor
Toss some coconut oil into your smoothies or juiced drinks for a burst of lauric acid
Make your own mayonnaise with coconut oil
Use it on your salads for a tropical flair
Try it on popcorn instead of butter
NOW Is the Best Time to Order Your Own Extra Virgin Coconut Oil!
"I have been using the virgin coconut oil for 3 years now in all of my cooking and it is just wonderful!! I love how it cooks and the nice flavor it adds to all food. Since using the coconut oil and the health/life suggestions, I have felt better than ever.
"I credit all the healthful tips and my healthy lifestyle to having a great pregnancy and birth experience during the past year. I have shared the benefits of the coconut oil to my whole family, friends, and coworkers. They are now all users of the coconut oil!!"
--Sharon Hughes from Seattle, WA
I cannot stress enough how powerfully beneficial this oil is. After reading this far, now you too can see why coconut oil is causing such a sensation among health-conscious individuals everywhere. And why our survey respondents raved about how it gave them peace of mind knowing they were making the smartest oil choice.
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551
Coconut oil (Miracle coconut oil ) ,for keeping body,skin,and hair healthy,look young forever
Applications of Coconut Oil - as a FuelApplications of Coconut Oil
Cooking
Coconut oil is commonly used in cooking, especially when frying, and it has a high smoke point temperature which makes it good for this purpose. In communities where coconut oil is widely used in cooking, the refined oil is the one most commonly used.
Coconut oil is often used in making a curry.
Manufacturing
Coconut oil is used in volume quantities for making margarine, soap and cosmetics.
Hydrogenated or partially-hydrogenated coconut oil is often used in non-dairy creamers, and snack foods.
Fractionated coconut oil is also used in the manufacture of essences, massage oils and cosmetics
The essential value of Coconut Oil
Cosmetics and skin treatments
Coconut oil is excellent as a skin moisturiser. A study shows that extra virgin coconut oil is as effective and safe as mineral oil when used as a moisturiser, with absence of adverse reactions. Although not suitable for use with condoms, coconut oil is an excellent, inexpensive, lubricant for sexual intercourse.
Coconut oil can also help in healing Keratosis pilaris by moisturising the affected area. The coconut oil should be applied in the shower, and may cause the KP bumps to disappear.
In India and Sri Lanka, coconut oil is commonly used for styling hair, and cooling or soothing the head (stress relief). People of coastal districts of Karnataka and Kerala bathe in warm water after applying coconut oil all over the body and leaving it as is for an hour. It is suggested by elders that this ritual must be done at least once in a week, to keep body, skin, and hair healthy.
Good tip: coconut oil use as skin lotion in the vaginal area and under armpits will get rid of the bad smell.
มหัศจรรย์แห่ง น้ำมันมะพร้าว (TREE OF LIFE)
ต้นมะพร้าวสูงมาก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายยอด มีลูกเป็นพวงเรียกว่าทะลาย ทะลายละหลายๆลูก น้ำมันที่กลั่นจากมะพร้าวมีคุณค่าเอกอนันต์ มะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นพืชแห่งชีวิตมีประโยชน์ทั้งต่อการบริโภค ทางยา และ ประทินความงาม
กลุ่มนักวิทยาศาตร์หลายสาขา ได้วิจัยค้นคว้าและสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นบ่อเกิดของโรคร้าย โรคหัวใจ หรือคลอเรสเคอรอลสูงอย่างที่เราๆเข้าใจกัน
ปัจจุบันมีกลุ่มคนไทยที่ค้นคว้าวิจัยก็หลายท่านและที่ active จริงๆจังๆ ก็คือ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ท่านพิมพ์เอกสารเผยแพร่และแจกฟรีด้วยป็นจำนวนมาก
น้ำมันมะพร้าวไม่เกิด Trans fats และไม่เกิดอนุมูลอิสระ เป็นน้ำมันที่มีโมเลกุลยาวปานกลาง (medium chain) เป็นหนึ่งในน้ำมัน medium chain ที่มีอยู่ไม่มากชนิดนักในโลกนี้ มีภูมิคุ้มกันและสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ช่วยป้องกันมะเร็ง และช่วยให้รับมือกับอาการโรคติดเชื้อบางชนิดได้ดี มีเมนูอาหารมากมายที่ใช้กระทิหรือน้ำมันมะพร้าวหุงต้ม มีฝรั่งเขียนตำรา diet มาขายพี่ไทยเรากินน้ำมันเพื่อลดความอ้วน ก็น้ำมันมะพร้าวนี่เองคือตัวพระเอกนางเอกในบททั้งหมด
น้ำมันมะพร้าวกลั่นบริสุทธ์ยังใช้เป็นยาและเครื่องประทินโฉม บำรุงผิวพรรณและบำรุงเส้นผม เรียกได้ว่าใช้ได้ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ใช้เป็นเครื่องสำอางค์ประจำตัว หยดเล็กๆก็พอแล้วที่จะทำให้ผิวหน้าดูอ่อนเยาว์แถมกระชับรูขุมขนดีมาก และลดความมันโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องไปซื้อเครื่องสำอางค์ทั้งของไทยและต่างประเทศให้เสียเงิน
นี่และมะพร้าวพืชแห่งชีวิต เป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าต่อสุขภาพและความงามของมนุษย์มากที่สุดในโลก ใครมีความรู้ข้อมูลมาแลกเปลี่ยนและสร้างเสริม และช่วยรณรงค์กันใช้มะพร้าวและผลผลิตจากมะพร้าวกันเถอะ
ทั้งหมดมีเอกสารอ้างอิง ของดร.ณรงค์ โฉมเฉลา, Jon J.Kabara Ph.D. และ อื่นๆ
รู้จักน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ น้ำมันมะพร้าวทั่วไป (RBD Coconut Oil) และน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ( Virgin Coconut Oil ) ซึ่งน้ำมันมะพร้าว อย่างหลังกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงเนื่องจากเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ
น้ำมันมะพร้าวทั่วไป ( RBD Coconut Oil )
น้ำมันมะพร้าวที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นใช้ในการทอดอาหาร หรือในการผลิตอาหารต่างๆ เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) น้ำมันที่สกัดได้จะต้องผ่านขบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Refined) การฟอกสี (Bleached) และกำจัดกลิ่น (Deodorized) ก่อนที่จะนำไปบริโภค น้ำมันชนิดนี้บางครั้งจะถูกกล่าวถึงว่าเป็น “น้ำมันธรรมชาติ” (Natural Coconut Oil) แต่ความจริงเป็นน้ำมันมะพร้าวชนิด RBD (Refined, Bleached, Deodorized) น้ำมันชนิดนี้จะมีความหนืด และมีสีเหลืองอ่อน
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil)
น้ำมันมะพร้าวอีกชนิดหนึ่ง รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันมะพร้าวเวอร์จิ้น” (Virgin Coconut Oil) หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ซึ่งมีขบวนการผลิตที่พิถีพิถันมาก ที่เรียกว่า Cold Process หรือ Cold Pressed เพราะไม่มีการใช้ความร้อนเลย ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพพิเศษ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี อุดมด้วยวิตามิน E และสาร Antioxidants และได้รับการกล่าวขวัญว่ามีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ
ขั้นตอนการผลิตน้ำมันมะพร้าวทั่วไป (RBD)
เนื้อมะพร้าวจะถูกนำมาทำให้แห้ง โดยการตากหรืออบในเตา เพื่อให้น้ำในเนื้อมะพร้าว ลดลงจากประมาณ 50% เหลือ 3.5%
จากนั้นเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) จะถูกบด และนำไปผสมกับน้ำเดือด ก่อนที่จะผ่านต่อไปยังเครื่องนวด เพื่อคั้นน้ำมันออกมาให้ได้มากที่สุด
หลังจากแยกกากออก ส่วนผสมที่ได้จะถูกเคี่ยวช้าๆด้วยความร้อนต่ำ เป็นเวลานานเพื่อให้ น้ำระเหยออกไป จนเหลือแต่น้ำมัน
(หมายเหตุ: ผู้ผลิตบางรายอาจใช้วิธีต้ม Copra ที่บดแล้ว และบางรายอาจใช้สารละลาย เพื่อช่วยให้สกัดน้ำมันได้มากขึ้น เศษกากมะพร้าวที่เหลือมีโปรตีนสูง และมักใช้เป็นอาหารสัตว์)
น้ำมันที่ได้จะต้องผ่านขบวนการกรอง เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอมออกแล้วนำไปต้มเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
การฟอกสีและการกรองอีกครั้งจะทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวที่ไม่มีสี และปราศจากกลิ่นหรือแม้แต่รสชาติ ผู้ผลิตส่วนมากจะเติมสี เพราะเกรงว่าน้ำมันใสๆจะไม่ถูกใจผู้บริโภค
ขั้นตอนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ Virgin Coconut Oil
ในขบวนการผลิตจะใช้ระบบ Cold Press ซึ่งจะไม่มีการใช้ความร้อนใดๆทั้งสิ้น งานส่วนใหญ่จะทำด้วยมือ โดยเริ่มจากการคัดเฉพาะมะพร้าวคุณภาพดี จากนั้นนำเนื้อมะพร้าวสดไป “ขูด” หรือ “บด” โดยใช้เครื่องขูด/บดมะพร้าว
เนื้อมะพร้าวที่ขูดแล้ว จะถูกนำไปใส่ถุงตาข่ายพิเศษ และคั้นน้ำกะทิออกด้วยมือหรือเครื่องอัดแบบใช้มือ (Manual Press)
น้ำกะทิที่ได้จะถูกนำไปผสมกับน้ำมะพร้าว และปล่อยทิ้งไว้ให้แยกตัว (Culturing) ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 20 ชั่วโมง ส่วนผสมจะแยกตัวออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนจะเป็นส่วนของโปรตีน ชั้นกลางจะเป็นน้ำมันมะพร้าว และชั้นล่างสุดจะเป็นน้ำ น้ำมันที่ได้จะถูกแยกออกมา กรอง และแยกส่วนน้ำทิ้งไป แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แยกตัว (Resting)
ขบวนการที่ปล่อยน้ำมันทิ้งไว้ (Resting) ตามด้วยการแยกตัวและแยกน้ำออก (Decanting) และกรอง (Filtering) เรียกว่า “Curing” หรือ การบ่ม
น้ำมันมะพร้าวจะถูกแยกตัว และกรองครั้งสุดท้าย หลังสิ้นสุด 3 สัปดาห์ น้ำมันที่ได้จะเป็น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ Virgin Coconut Oil ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ นอกจากจะใสบริสุทธิ์แล้ว ยังจะมีกลิ่นหอม และรสชาติของมะพร้าวอ่อนๆอีกด้วย สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปีโดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น และปราศจากกลิ่นหืนใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุอันเนื่องมาจากสาร Tocopherol ในน้ำมันไม่ถูกทำลายลงด้วยขบวนการใช้ความร้อน ซึ่งสารตัวนี้ทำหน้าที่เสมือนสารกันบูดโดยธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin) จะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า25 องศา
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์(Virgin Coconut oil)ใช้เป็นโลชั่นทาผิว ช่วยบำรุงผิวให้อ่อนเยาว์ เมื่อทาไปที่จุดซ่อนเร้น ที่รักแร้และส่วนล่างจะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่ต้องใช้ พวกดีโอโดแรนท์ ซึ่งมักจะมีส่วนผสมพวกสารเคมีไม่ดีต่อสุขภาพ ใช้แทนครีมกันแดด ใช้หมักเส้นผม จะได้เส้นผมที่นุ่มสลวยเป็นเงางาม ใช้ทำความสะอาดผิวหน้าล้างเครื่องสำอางค์ได้เป็นอย่างดี หรือจะใข้เป็นครีมบำรุงหน้าและตัว นำมานวดตัวช่วยให้ไขมันลด มีอีกหลายประการจาระนัยไม่หมด
คราวหน้าจะนำน้ำมันงามาฝาก
Cooking
Coconut oil is commonly used in cooking, especially when frying, and it has a high smoke point temperature which makes it good for this purpose. In communities where coconut oil is widely used in cooking, the refined oil is the one most commonly used.
Coconut oil is often used in making a curry.
Manufacturing
Coconut oil is used in volume quantities for making margarine, soap and cosmetics.
Hydrogenated or partially-hydrogenated coconut oil is often used in non-dairy creamers, and snack foods.
Fractionated coconut oil is also used in the manufacture of essences, massage oils and cosmetics
The essential value of Coconut Oil
Cosmetics and skin treatments
Coconut oil is excellent as a skin moisturiser. A study shows that extra virgin coconut oil is as effective and safe as mineral oil when used as a moisturiser, with absence of adverse reactions. Although not suitable for use with condoms, coconut oil is an excellent, inexpensive, lubricant for sexual intercourse.
Coconut oil can also help in healing Keratosis pilaris by moisturising the affected area. The coconut oil should be applied in the shower, and may cause the KP bumps to disappear.
In India and Sri Lanka, coconut oil is commonly used for styling hair, and cooling or soothing the head (stress relief). People of coastal districts of Karnataka and Kerala bathe in warm water after applying coconut oil all over the body and leaving it as is for an hour. It is suggested by elders that this ritual must be done at least once in a week, to keep body, skin, and hair healthy.
Good tip: coconut oil use as skin lotion in the vaginal area and under armpits will get rid of the bad smell.
มหัศจรรย์แห่ง น้ำมันมะพร้าว (TREE OF LIFE)
ต้นมะพร้าวสูงมาก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายยอด มีลูกเป็นพวงเรียกว่าทะลาย ทะลายละหลายๆลูก น้ำมันที่กลั่นจากมะพร้าวมีคุณค่าเอกอนันต์ มะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นพืชแห่งชีวิตมีประโยชน์ทั้งต่อการบริโภค ทางยา และ ประทินความงาม
กลุ่มนักวิทยาศาตร์หลายสาขา ได้วิจัยค้นคว้าและสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นบ่อเกิดของโรคร้าย โรคหัวใจ หรือคลอเรสเคอรอลสูงอย่างที่เราๆเข้าใจกัน
ปัจจุบันมีกลุ่มคนไทยที่ค้นคว้าวิจัยก็หลายท่านและที่ active จริงๆจังๆ ก็คือ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ท่านพิมพ์เอกสารเผยแพร่และแจกฟรีด้วยป็นจำนวนมาก
น้ำมันมะพร้าวไม่เกิด Trans fats และไม่เกิดอนุมูลอิสระ เป็นน้ำมันที่มีโมเลกุลยาวปานกลาง (medium chain) เป็นหนึ่งในน้ำมัน medium chain ที่มีอยู่ไม่มากชนิดนักในโลกนี้ มีภูมิคุ้มกันและสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ช่วยป้องกันมะเร็ง และช่วยให้รับมือกับอาการโรคติดเชื้อบางชนิดได้ดี มีเมนูอาหารมากมายที่ใช้กระทิหรือน้ำมันมะพร้าวหุงต้ม มีฝรั่งเขียนตำรา diet มาขายพี่ไทยเรากินน้ำมันเพื่อลดความอ้วน ก็น้ำมันมะพร้าวนี่เองคือตัวพระเอกนางเอกในบททั้งหมด
น้ำมันมะพร้าวกลั่นบริสุทธ์ยังใช้เป็นยาและเครื่องประทินโฉม บำรุงผิวพรรณและบำรุงเส้นผม เรียกได้ว่าใช้ได้ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ใช้เป็นเครื่องสำอางค์ประจำตัว หยดเล็กๆก็พอแล้วที่จะทำให้ผิวหน้าดูอ่อนเยาว์แถมกระชับรูขุมขนดีมาก และลดความมันโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องไปซื้อเครื่องสำอางค์ทั้งของไทยและต่างประเทศให้เสียเงิน
นี่และมะพร้าวพืชแห่งชีวิต เป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าต่อสุขภาพและความงามของมนุษย์มากที่สุดในโลก ใครมีความรู้ข้อมูลมาแลกเปลี่ยนและสร้างเสริม และช่วยรณรงค์กันใช้มะพร้าวและผลผลิตจากมะพร้าวกันเถอะ
ทั้งหมดมีเอกสารอ้างอิง ของดร.ณรงค์ โฉมเฉลา, Jon J.Kabara Ph.D. และ อื่นๆ
รู้จักน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ น้ำมันมะพร้าวทั่วไป (RBD Coconut Oil) และน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ( Virgin Coconut Oil ) ซึ่งน้ำมันมะพร้าว อย่างหลังกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงเนื่องจากเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ
น้ำมันมะพร้าวทั่วไป ( RBD Coconut Oil )
น้ำมันมะพร้าวที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นใช้ในการทอดอาหาร หรือในการผลิตอาหารต่างๆ เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) น้ำมันที่สกัดได้จะต้องผ่านขบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Refined) การฟอกสี (Bleached) และกำจัดกลิ่น (Deodorized) ก่อนที่จะนำไปบริโภค น้ำมันชนิดนี้บางครั้งจะถูกกล่าวถึงว่าเป็น “น้ำมันธรรมชาติ” (Natural Coconut Oil) แต่ความจริงเป็นน้ำมันมะพร้าวชนิด RBD (Refined, Bleached, Deodorized) น้ำมันชนิดนี้จะมีความหนืด และมีสีเหลืองอ่อน
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil)
น้ำมันมะพร้าวอีกชนิดหนึ่ง รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันมะพร้าวเวอร์จิ้น” (Virgin Coconut Oil) หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ซึ่งมีขบวนการผลิตที่พิถีพิถันมาก ที่เรียกว่า Cold Process หรือ Cold Pressed เพราะไม่มีการใช้ความร้อนเลย ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพพิเศษ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี อุดมด้วยวิตามิน E และสาร Antioxidants และได้รับการกล่าวขวัญว่ามีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ
ขั้นตอนการผลิตน้ำมันมะพร้าวทั่วไป (RBD)
เนื้อมะพร้าวจะถูกนำมาทำให้แห้ง โดยการตากหรืออบในเตา เพื่อให้น้ำในเนื้อมะพร้าว ลดลงจากประมาณ 50% เหลือ 3.5%
จากนั้นเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) จะถูกบด และนำไปผสมกับน้ำเดือด ก่อนที่จะผ่านต่อไปยังเครื่องนวด เพื่อคั้นน้ำมันออกมาให้ได้มากที่สุด
หลังจากแยกกากออก ส่วนผสมที่ได้จะถูกเคี่ยวช้าๆด้วยความร้อนต่ำ เป็นเวลานานเพื่อให้ น้ำระเหยออกไป จนเหลือแต่น้ำมัน
(หมายเหตุ: ผู้ผลิตบางรายอาจใช้วิธีต้ม Copra ที่บดแล้ว และบางรายอาจใช้สารละลาย เพื่อช่วยให้สกัดน้ำมันได้มากขึ้น เศษกากมะพร้าวที่เหลือมีโปรตีนสูง และมักใช้เป็นอาหารสัตว์)
น้ำมันที่ได้จะต้องผ่านขบวนการกรอง เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอมออกแล้วนำไปต้มเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
การฟอกสีและการกรองอีกครั้งจะทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวที่ไม่มีสี และปราศจากกลิ่นหรือแม้แต่รสชาติ ผู้ผลิตส่วนมากจะเติมสี เพราะเกรงว่าน้ำมันใสๆจะไม่ถูกใจผู้บริโภค
ขั้นตอนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ Virgin Coconut Oil
ในขบวนการผลิตจะใช้ระบบ Cold Press ซึ่งจะไม่มีการใช้ความร้อนใดๆทั้งสิ้น งานส่วนใหญ่จะทำด้วยมือ โดยเริ่มจากการคัดเฉพาะมะพร้าวคุณภาพดี จากนั้นนำเนื้อมะพร้าวสดไป “ขูด” หรือ “บด” โดยใช้เครื่องขูด/บดมะพร้าว
เนื้อมะพร้าวที่ขูดแล้ว จะถูกนำไปใส่ถุงตาข่ายพิเศษ และคั้นน้ำกะทิออกด้วยมือหรือเครื่องอัดแบบใช้มือ (Manual Press)
น้ำกะทิที่ได้จะถูกนำไปผสมกับน้ำมะพร้าว และปล่อยทิ้งไว้ให้แยกตัว (Culturing) ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 20 ชั่วโมง ส่วนผสมจะแยกตัวออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนจะเป็นส่วนของโปรตีน ชั้นกลางจะเป็นน้ำมันมะพร้าว และชั้นล่างสุดจะเป็นน้ำ น้ำมันที่ได้จะถูกแยกออกมา กรอง และแยกส่วนน้ำทิ้งไป แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แยกตัว (Resting)
ขบวนการที่ปล่อยน้ำมันทิ้งไว้ (Resting) ตามด้วยการแยกตัวและแยกน้ำออก (Decanting) และกรอง (Filtering) เรียกว่า “Curing” หรือ การบ่ม
น้ำมันมะพร้าวจะถูกแยกตัว และกรองครั้งสุดท้าย หลังสิ้นสุด 3 สัปดาห์ น้ำมันที่ได้จะเป็น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ Virgin Coconut Oil ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ นอกจากจะใสบริสุทธิ์แล้ว ยังจะมีกลิ่นหอม และรสชาติของมะพร้าวอ่อนๆอีกด้วย สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปีโดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น และปราศจากกลิ่นหืนใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุอันเนื่องมาจากสาร Tocopherol ในน้ำมันไม่ถูกทำลายลงด้วยขบวนการใช้ความร้อน ซึ่งสารตัวนี้ทำหน้าที่เสมือนสารกันบูดโดยธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin) จะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า25 องศา
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์(Virgin Coconut oil)ใช้เป็นโลชั่นทาผิว ช่วยบำรุงผิวให้อ่อนเยาว์ เมื่อทาไปที่จุดซ่อนเร้น ที่รักแร้และส่วนล่างจะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่ต้องใช้ พวกดีโอโดแรนท์ ซึ่งมักจะมีส่วนผสมพวกสารเคมีไม่ดีต่อสุขภาพ ใช้แทนครีมกันแดด ใช้หมักเส้นผม จะได้เส้นผมที่นุ่มสลวยเป็นเงางาม ใช้ทำความสะอาดผิวหน้าล้างเครื่องสำอางค์ได้เป็นอย่างดี หรือจะใข้เป็นครีมบำรุงหน้าและตัว นำมานวดตัวช่วยให้ไขมันลด มีอีกหลายประการจาระนัยไม่หมด
คราวหน้าจะนำน้ำมันงามาฝาก
วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551
"ความเรียบง่าย" กับ "ความพอดี"
ความเรียบง่าย" กับ "ความพอดี"
เป็นเรื่อง ใกล้กัน อะไรที่เกินพอดี ถือว่า ไม่เรียนง่าย
และอะไรที่ไม่เรียบง่าย ถือว่า ไม่พอดี ฉันใดฉันนั้น
เล่าจื้อ เขียนไว้ใน "วิถีเต๋า" ว่า
เขา ผู้ซึ่ง เขย่งยืน จะ ไม่มั่นคง
เขา ผู้ซึ่ง ก้าวคร่อม จะเสียจังหวะ
เขา ผู้ซึ่ง สำแดงตน จะ ไม่ปรากฎนาม
เขา ผู้ซึ่ง ยกตน จะ ไม่ได้รับการนับถือ
เขาผู้ซึ่ง โอ้อวด จะ ไม่สำเร็จในสิ่งใด
เขา ผู้ซึ่ง คุยโว จะ ไม่อยู่ยง
เหล่านี้คือ อาหารส่วนเกิน และ สัมภาระที่ไม่จำเป็น ถ้าหลีกได้พึงหลีกเลี่ยง
เป็นเรื่อง ใกล้กัน อะไรที่เกินพอดี ถือว่า ไม่เรียนง่าย
และอะไรที่ไม่เรียบง่าย ถือว่า ไม่พอดี ฉันใดฉันนั้น
เล่าจื้อ เขียนไว้ใน "วิถีเต๋า" ว่า
เขา ผู้ซึ่ง เขย่งยืน จะ ไม่มั่นคง
เขา ผู้ซึ่ง ก้าวคร่อม จะเสียจังหวะ
เขา ผู้ซึ่ง สำแดงตน จะ ไม่ปรากฎนาม
เขา ผู้ซึ่ง ยกตน จะ ไม่ได้รับการนับถือ
เขาผู้ซึ่ง โอ้อวด จะ ไม่สำเร็จในสิ่งใด
เขา ผู้ซึ่ง คุยโว จะ ไม่อยู่ยง
เหล่านี้คือ อาหารส่วนเกิน และ สัมภาระที่ไม่จำเป็น ถ้าหลีกได้พึงหลีกเลี่ยง
วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)